คู่มือวิเคราะห์แมลง (Insect guide) > วิธีการควบคุมแมลงสาบ
วิธีการควบคุมแมลงสาบ
- การควบคุมโดยวิธีการสุขาภิบาลและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (sanitation and environmental management) โดยใช้หลัก 5 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
- การควบคุมโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้กับดัก เปนต้น
- การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (physical control) เช่น การตรวจสอบสินค้า วัสดุสิ่งของ และการ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เปนต้น
- การควบคุมโดยใช้สารเคมี (chemical control) การควบคุมแมลงสาบโดยใช้สารเคมีนั้นเปน วิธีการที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบรรดาวิธีการทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจากเปนวิธีการที่ให้ผลเร็วและมีรูปแบบของ ผลิตภัณฑ์และสารเคมีให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว หมอกควัน สเปรย์อัดก๊าซ ฝุ่นหรือผง การใช้เหยื่อพิษ เปนต้น
การจัดการแมลงสาบ
การจัดการแมลงสาบมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดแมลงสาบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อปองกันมิให้ แมลงสาบต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ การจัดการแมลงสาบที่ดีที่สุดนั้นต้องบูรณาการวิธีการหลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกัน ได้แก่ การสำรวจแมลงสาบ การควบคุมแมลงสาบโดยวิธีต่าง ๆ ทั้งที่ไม่ใช้สารเคมีและการใช้ สารเคมี
1. การสำรวจแมลงสาบ
การสำรวจสถานที่บริการแบ่งเปน 2 ระยะ คือ การสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและภายหลังการ ปฏิบัติงาน ทั้งสองขั้นตอนควรเปนการสำรวจตามมาตรฐาน คือ “การสำรวจอย่างละเอียดถ้วนทั่ว (a through survey)” มีชุดสวมใส่โดยเฉพาะขณะปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเปน เช่น หมวกกันกระแทก หน้ากาก รองเท้านิรภัย เปนต้น และมีอุปกรณ์การสำรวจ เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่างแมลง กับดัก แมลงสาบ กระดานรองเขียนเพื่อจดบันทึก เปนต้น
1.1 การสำรวจก่อนการปฏิบัติงาน
เพื่อตรวจหาชนิด จำนวน และความเสียหายจากการทำลายของแมลงสาบ จัดทำแผนผังของ สถานที่ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงโดยรอบที่จะส่งผลกระทบต่อ การจัดการ แหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหารและปัจจัยอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการระบาด รวมทั้งวางกับดัก แมลงสาบเพื่อประเมินสภาพความชุกชุม เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานผลการสำรวจ (survey finding report) เพื่อนำเสนอลูกค้าพร้อมการเสนอราคาหรือเมื่อมีการตกลงทำสัญญาบริการ รายงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ ในการวางแผนการเข้าทำบริการโดยฝ่ายบริการหรือฝ่ายปฏิบัติการได้
1.2 การสำรวจภายหลังการปฏิบัติงาน
เพื่อต้องการติดตามตรวจสอบผลการทำบริการว่าแมลงสาบลดลงหรือไม่ พร้อมจัดทำรายงาน การติดตามผล (follow-up inspection report) ให้ลูกค้าทราบและเก็บบันทึกเพื่อการอ้างอิงและตรวจสอบ
2. การจัดการแมลงสาบโดยไม่ใช้สารเคมี
เป็นการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนและการตกค้างของสารเคมี ในผลิตภัณฑ์ สินค้า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งผู้ให้ บริการ ผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจดำเนินการได้ดังนี้
2.1 การจัดการโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (5ส.) ดังนี้
สะสาง
แยกและขจัดทิ้งของที่ไม่จำเป็นเพื่อมิให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นแหล่ง อาศัยและเพาะพันธุ์ของแมลงสาบ
สะดวก
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างระยะเคียงที่เหมาะสมและจัดวาง บนชั้นเพื่อให้สามารถสำรวจปัญหาแมลงสาบได้โดยง่าย ไม่ควรวางสิ่งของ ชิดติดผนังหรือวางบนพื้นโดยตรง
สะอาด
ทำความสะอาดอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำ แหล่ง อาหาร และแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงสาบ จัดให้มีการล้างทำความ สะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันหรือหมักหมมของเศษขยะและ อาหาร
สุขลักษณะ
จัดสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานและที่พักอาศัยให้สะอาด ถูกหลักอนามัย เน้นการดูแลจุดสำคัญ ดังนี้
- อุด ปดกั้น สกัดกั้น โดยการป ิ ดทางเข้า–ออก ซ่อมแซมรอยแตก รอย ิ ร้าว หรือรอยทรุดตัวของอาคารไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนพักอาศัยของแมลง
- จัดที่ทิ้งขยะที่มีฝาปิดมิดชิด นำไปทิ้งในเวลาที่เหมาะสม ขยะเปียกและ ขยะประเภทเศษอาหารควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นไม่ให้แมลงสาบ เข้ามาระบาดได้
สร้างนิสัย
ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหน่วยงานอย่าง ต่อเนื่อง และช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงในพื้นที่รับผิด ชอบของตนเอง
2.2 การจัดการโดยวิธีกล
- ใช้กาวดักแมลงสาบชนิดที่มีเหยื่อล่อ (food attractant)
- ใช้กล่องดักจับแมลงสาบแบบต่าง ๆ (trapping station)
2.3 การจัดการโดยวิธีกายภาพ
- สำรวจตรวจสอบวัสดุ สิ่งของ สินค้า และวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาสู่อาคารว่ามีแมลงสาบหรือ ไข่ของแมลงสาบติดเข้ามาด้วยหรือไม่
- ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลงสาบที่แหล่งหลบซ่อนหรือเมื่อพบเห็นตัว
3. การจัดการแมลงสาบโดยใช้สารเคมี
เมื่อพบว่ามีแมลงสาบอยู่ภายในบ้านเรือนจำเป็นต้องรีบควบคุมกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว ซึ่งสามารถ ดำเนินการโดยการใช้สารเคมี อย่างไรก็ตาม การนำสารเคมีมาใช้ในการควบคุมกำจัดแมลงสาบควรตั้งอยู่บน หลักเกณฑ์การพิจารณาที่จะใช้สารเคมีกำจัดแมลงและการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ สารเคมีกำจัด แมลงสาบที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (ตารางที่ 4.3.1) ได้แก่ สารในกลุ่มคาร์บาเมต (carbamates) ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) สารควบคุมการ เจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) ไฮดราโซน (hydrazones) สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compounds) นีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoids) เฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) และ ซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) สารเคมีเหล่านี้ถูกนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบได้หลายรูปแบบ เช่น แบบของเหลว หมอกควัน สเปรย์อัดก๊าซ ฝุ่นหรือผงสำหรับโรย และเหยื่อพิษ โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดแมลงสาบในบ้านเรือน อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรที่จะใช้สารเคมี กำจัดแมลงแต่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากมีรายงาน ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ที่พบว่าเป็นกลุ่มของสารเคมีที่แมลงสาบเกิดความต้านทานมากที่สุด และแมลงสาบ เยอรมันก็เป็นแมลงสาบที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับแมลงสาบชนิดอื่น ๆ ดังนั้น จึงควรที่จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในการกำจัดแมลงสาบเพื่อป้องกัน ปัญหาแมลงสาบต้านทานสารเคมีกำจัดแมลงในอนาคต โดยในระยะเริ่มแรกที่มีแมลงสาบชุกชุมมากนั้นให้ใช้ สารเคมีกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพดีในการกำจัดแมลงสาบ เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ซึ่งเปนสารในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ หรือ ฟโพรนิล (fipronil) ซึ่งเปนสารในกลุ่มเฟนนีลไพราโซล หลังจากนั้น เมื่อปริมาณแมลงสาบลดลงเหลืออยู่ในระดับต่ำให้เปลี่ยนสารเคมีไปใช้ในกลุ่มอื่น ๆ เช่น คาร์บาเมต ออร์กาโน ฟอสเฟต ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง สลับสับเปลี่ยนกันไป อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการนำวิธีการต่าง ๆ ในการควบคุมแมลงสาบโดยไม่ใช้สารเคมีมาปฏิบัติควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
การดำเนินการควบคุมแมลงสาบโดยใช้สารเคมี สามารถทำได้โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว (liquid spray)
การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลวเปนการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงลงบนตัวแมลงสาบ โดยตรง หรือฉีดเคลือบพื้นที่เปาหมายบริเวณที่เปนแหล่งหลบซ่อนอาศัยและแหล่งอาหารของแมลงสาบ เพื่อ กำจัดหรือขับไล่แมลงสาบออกจากที่หลบซ่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้แมลงสาบตายทันที หรือเพื่อ ให้มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อแมลงสาบคลานมาสัมผัสสารเคมีที่ฉีดเคลือบไว้ สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ ไบเฟนทริน (bifenthrin) เบต้า-ไซฟลูทริน ( -cyfluthrin) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไฮโดรพรีน (hydroprene) ฯลฯ การฉีดพ่นสาร เคมีแบบของเหลวสามารถดำเนินการได้ทั้งการฉีดพ่นภายในและภายนอกตัวอาคาร
3.2 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบหมอกควัน (fogging)
การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบหมอกควันเปนวิธีที่เหมาะสำหรับการพ่นกำจัดแมลงสาบใน พื้นที่ปด เช่น ห้องเก็บของ โกดัง หรือคลังสินค้าขนาดเล็ก โดยที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว และสามารถขับไล่แมลงสาบให้ออกจากที่หลบซ่อนได้ เช่น สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ) โดยเน้น พ่นเข้าไปตามซอกมุม ใต้ชั้นวางของ หรือกองหีบห่อสินค้า จากนั้นทำการปดประตู-หน้าต่างอบไว้ สำหรับการ ควบคุมกำจัดแมลงสาบตามท่อหรือรางระบายน้ำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเปนต้องมีการฉีดพ่นสารเคมี แบบของเหลวเคลือบบริเวณปากท่อ ร่อง หรือขอบฝาท่อเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงทำการพ่นหมอกควันเข้าไปใน ท่อระบายน้ำให้หนาแน่น สารเคมีกำจัดแมลงในรูปหมอกควันจะขับไล่และผลักดันแมลงสาบให้หนีขึ้นมาสัมผัส สารเคมีแบบของเหลวที่ฉีดพ่นเคลือบเอาไว้
3.3 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบสเปรย์อัดกาซ (aerosol)
การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบสเปรย์อัดก๊าซเปนการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงลงบนตัว แมลงสาบโดยตรง หรือฉีดเคลือบพื้นที่เปาหมายบริเวณที่เปนแหล่งหลบซ่อนพักอาศัยและแหล่งอาหารของ แมลงสาบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้แมลงสาบตายทันที หรือเพื่อให้มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อแมลงสาบคลาน มาสัมผัส สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้สำหรับสเปรย์อัดก๊าซ ได้แก่ ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) ไซฟีโนทริน (cyphenothrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ การฉีดพ่นสารเคมีแบบสเปรย์อัดก๊าซสามารถดำเนินการภายในบ้านเรือนได้โดยเจ้าของบ้าน
3.4 การใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฝุ่นหรือผง (dust)
การใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฝุ่นหรือผงเปนวิธีที่เหมาะสำหรับการใช้ควบคุมกำจัดแมลงสาบ ็ ในบริเวณที่ไม่สามารถฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลวได้ เช่น บริเวณแผงสวิทซ์ไฟ ปลั๊กไฟฟ้า เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รอยแตกบนผนังอาคาร ฯลฯ สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไดอะซินอน (diazinon) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ
3.5 การใช้เหยื่อพิษ (toxic bait)
การใช้เหยื่อพิษนับว่าเป็นวิธีการควบคุมกำจัดแมลงสาบที่ดำเนินการได้สะดวกทุกสถานที่ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของใด ๆ เป็นวิธีที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดแมลงในสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สุด โดยที่ให้ผลในการกำจัดแมลงสาบค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น ๆ ที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ในเหยื่อพิษ ได้แก่ กรดโบริก (boric acid) ไฮดราเมทิลนอน (hydramethylnon) อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ฟิโพรนิล (fipronil) ซัลฟลูรามิด (sulfluramid) อะบาเมคทิน (abamectin) ฯลฯ เหยื่อพิษที่ใช้ในการกำจัดแมลงสาบมีหลายรูปแบบ เช่น เจล เม็ด และก้อน เป็นต้น การใช้เหยื่อพิษนี้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในบริเวณที่ไม่สะดวกหรือไม่ปลอดภัยที่จะ ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว รวมทั้งการใช้แบบฝุ่นหรือผงได้ เช่น บริเวณที่เก็บอาหารสด/ แห้ง อุปกรณ์และเครื่องใช้สำหรับปรุงอาหาร เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องชงกาแฟ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องแฟกซ์ ปลั๊กไฟ ฯลฯ
-
แมลงสาบโอเรียลเตลBlatta orientalis รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 25-30 มม. มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ปีกของตัวเมียนั้นไม่สมบูรณ์และปกคลุมบริเวณ ¾ ของบริเวณส่วนท้องในตัวผู้ ชอบวิ่งมากกว...
-
แมลงสาบแถบสีน้ำตาล Supella longipalpa รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 10-15 มม. มีสีเหลืองน้ำตาล มีปีกทั้งตัวผู้เเละตัวเมียแต่ตัวผู้มีปีกยาวกว่า ชอบวิ่ง (อาจจะบินในที่ที่อุณหภูมิสูง) วงจ...
-
แมลงสาบดัสคี Ectobius lapponicus รูปลักษณ์ ลำตัวมีสีเทาน้ำตาลเข้ม ยกเว้นบริเวณแผ่นด้านหลังบริเวณทรวงอกของเเมลงตัวผู้จะมีสีเข้ม และตัวเมียที่มีสีน้ำตาลเข้มบริเวณช่วงท้อง ตัวเต็มวัย...
-
แมลงสาบเลสเซอร์ Ectobius panzeri รูปลักษณ์ ตัวผู้มีขนาดความยาว 6-8 มม.; ตัวเมียมีขนาดความยาว 5-7 มม. สีน้ำตาลซีดถึงเข้ม, ขามีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ Tegmina (ส่วนผิวหนังที่อยู่ที่บริเว...
-
แมลงสาบสีดำ Platyzosteria novaeseelandiae รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 20 มม. ไม่มีปีก วงจรชีวิต ตัวเมียจะวาง Ootheca (ปลอกหุ้มไข่)ที่มันสร้่างออกมา ที่ข้างในมีไข่ประมาณ 16 ฟอง ต่อวั...
-
แมลงสาบกิสบอน Drymaplaneta semivitta รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 20-45 มม. มีสีดำ/น้ำตาลเข้ม และมีเเถบสีขาวที่เด่นชัดอยู่ด้านข้าง ไม่มีปีก เป็นนักวิ่งที่เร็วมาก วงจรชีวิต ตัวเมียจะว...
-
แมลงสาบซินเนเรียLobster cockroach ชื่อสามัญ : Lobster cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Nauphoeta cinerea (Olivier)Family:BlattidaeOrder:Blattodea Lobster cockroach เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ล...
-
ชื่อสามัญ : Madaguscar cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Gromphadorhina portentosaFamily :BlaberidaeOrder:Blattodea แมลงสาบมาดากัสการ์ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวและอกสีเข้มกว่าลำตัว ขนาดลำตัวใหญ่...
-
ชื่อสามัญ :concinna cockroach ชื่อวิทยาศาสตร์:Hebardina concinnaFamily:BlattidaeOrder:Blattodea แมลงสาบคอนซินนา ,uสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก มันวาว ตัวผู้ยาวประมาณ 18.0 มม. ส่วนตัวเมียย...
-
ทำความรู้จักแมลงสาบผี สายพันธุ์พิเศษที่มีลวดลายเฉพาะตัว ชื่อสามัญ: Harlequin cockroach ชื่อวิทยาศาสตร์: Neostylopyga rhombifolia Family: Blattidae Order: Blattodeaแมลงสาบผี (Harleq...
-
แมลงสาบฟูริจิโนซ่าSMOKYBROWN COCKROACH ชื่อสามัญ : smokybrown cockroachชื่อวิทยาศาสตร์ : Periplaneta fuliginosa Family :BlattidaeOrder :Blattodeaแมลงสาบฟูริจิโนซ่า เป็นแมลงสาบที่มี...
-
แมลงสาบเฟอร์นิเจอร์BROWN-BANDED COCKROACH ชื่อสามัญ : brown-banded cockroach, Furniture cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Supella longipalpaFamily:BlattidaeOrder:Blattodea แมลงสาบเฟอร์นิเจ...
-
แมลงสาบสุรินัมSURINAM COCKROACH ชื่อสามัญ : Surinam cockroachชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnoscelus surinamensisFamily : BlaberidaeOrder : Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหน...
-
แมลงสาบเอเชียASIA COCKROACH ชื่อสามัญ: asian cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Blattella asahinaiFamily: BlattellidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด : แบบเส้นด้...
-
ชื่อสามัญ: German cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Blattella germanicaFamily: BlattellidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด : แบบเส้นด้าย (filiform) ลักษณะหนวดเร...
-
แมลงสาบอเมริกันAMERICAN COCKROACH ชื่อสามัญ: American cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Periplaneta americanaFamily: BlattidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด :...
-
แมลงสาบออสเตรเลียAUSTRALIAN COCKROACH ชื่อสามัญ: australian cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Periplaneta australasiaeFamily: BlattidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษ...