แมลงสาบสุรินัม SURINAM COCKROACH

แมลงสาบสุรินัม
SURINAM COCKROACH

ชื่อสามัญ : Surinam cockroach
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnoscelus surinamensis
Family : Blaberidae
Order : Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบเส้นด้าย (filiform) หนวดสั้นกว่าลำตัว
ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบ Tegmina ปีกเจริญดีมีสีอ่อนกว่าสีของลำตัว ส่วนปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane (บางใส)
ลักษณะปาก : แบบกัดกิน  (chewing  type)  
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) บริเวณขามีหนามแหลม
ลักษณะทั่วไป : เป็นแมลงที่มีขนาดปานกลาง ตัวผู้มีความยาวลำตัว 13-17 mm. ตัวเมียยาว 15-18 mm. แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีแถบสีเหลืองขยายยาวจนคลุมขอบด้านข้าง หรืออย่างน้อยจะเป็นแถบหรือจุดสีเหลืองตรงขอบด้านข้าง ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน ส่วนท้องอ้วนกลม
พฤติกรรม : แมลงสาบชนิดนี้ตัวเมียจะติดฝักฟักไข่ไว้กับตัว จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน ทำให้แมลงสาชนิดนี้กำจัดได้ยาก พบเห็นได้บ่อยในช่วงเย็นหรือกลางคืนเมื่อตื่นเต้นหรือตกใจจะปล่อยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ออกมา

แมลงสาบสุรินัม มีการเจริญเติบโตแบบ incomplete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ระยะไข่เฉลี่ย 1-3 เดือน ลักษณะไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้มเรียกว่า ฝักไข่ (ootheca) 
  • ตัวอ่อน (nymph) : กินเวลาเฉลี่ย 3-4 สัปดาห์  ตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ  มีสีขาว 
  • ตัวเต็มวัย (adult) : อยู่ได้ 30-42 สัปดาห์

แหล่งอาหาร : เป็นศัตรูพืชในสวนเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรือนที่มีความร้อน โดยจะซ่อนตัวในตอนกลางวันและออกมาในเวลากลางคืน กัดแทะส่วนที่อ่อนของพืช
แหล่งอาศัย : แมลงสาบชนิดนี้พบในดินร่วน ปุ๋ยอินทรีย์ กองปุ๋ยหมักและหญ้าหรือซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหิน กิ่งไม้ ถังขยะและเศษซากอื่น ชอบอาศัยอยู่ภายนอกอาคารบ้านเรือน อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่พบว่า แมลงสาบชนิดนี้สามารถเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือนได้เช่นกัน
การแพร่กระจาย : ปัจจุบันพบได้ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • กำจัดแมลงสาบด้วยใบกระวาน ใบกระวาน เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำไปใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุนเหมาะที่จะนำมาใช้กำจัดแมลงสาบ เพียงแค่เรานำใบกระวานไปวางตามจุดต่าง ๆ ภายในห้อง เมื่อแมลงสาบได้กลิ่นฉุนของใบกระวานก็จะไม่เข้าใกล้ และหนีออกจากจุดนั้นไป
  • พ่นกำจัดแมลงสาบ ด้วยกรดบอริก
  • กำจัดแมลงสาบ ด้วยสารไซเปอร์เมทริน
  • กำจัดแมลงสาบ ด้วยลูกเหม็น
  • กับดักแมลงสาบ เจลหยอดแมลงสาบ
  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยให้สะอาด จะได้ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลงสาบ

 

เอกสารอ้างอิง

Gade, B.; Parker, E. D. (1997). "The effect of life cycle stage and genotype on desiccation tolerance in the colonizing parthenogenetic cockroach Pycnoscelus surinamensis and its sexual ancestor P. indicus". Journal of Evolutionary Biology. 10 (4): 479–493

Hebard, Morgan (1917). "The Blattidae of North America north of the Mexican boundary". Memoirs of the American Entomological Society. American Entomological Society (2): 193–197. 

Bell, WJ; Roth, LM; Nalepa, CA (2007). Cockroaches: Ecology, Behavior, and Natural History (PDF). JHU Press. pp. 121–122

Mullen, Gary R.; Durden, Lance A. (27 September 2002). Medical and Veterinary Entomology. Academic Press. pp. 37, 42

US Department of Agriculture, ed. (2004). Climate and Man: Part One (Reprinted from the 1941 ed.). Honolulu: University Press of the Pacific. p. 524

Suiter, DR; Koehler, PG. "ENY241/MG229: Surinam Cockroach, Pycnoscelus surinamensis". Institute of Food and Agricultural Sciences, University of Florida. Archived from the original on 25 August 2011.

Schal, C; Hamilton, RL (1990). "Integrated suppression of synanthropic cockroaches" (PDF). Annu. Rev. Entomol. 35: 521–551

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,703