วิธีการควบคุมแมลงสาบ

วิธีการควบคุมแมลงสาบ

  1. การควบคุมโดยวิธีการสุขาภิบาลและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (sanitation and environmental management) โดยใช้หลัก 5 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
  2. การควบคุมโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้กับดัก เปนต้น
  3. การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (physical control) เช่น การตรวจสอบสินค้า วัสดุสิ่งของ และการ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เปนต้น
  4. การควบคุมโดยใช้สารเคมี (chemical control) การควบคุมแมลงสาบโดยใช้สารเคมีนั้นเปน วิธีการที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบรรดาวิธีการทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจากเปนวิธีการที่ให้ผลเร็วและมีรูปแบบของ ผลิตภัณฑ์และสารเคมีให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว หมอกควัน สเปรย์อัดก๊าซ ฝุ่นหรือผง การใช้เหยื่อพิษ เปนต้น

การจัดการแมลงสาบ

การจัดการแมลงสาบมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดแมลงสาบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อปองกันมิให้ แมลงสาบต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ การจัดการแมลงสาบที่ดีที่สุดนั้นต้องบูรณาการวิธีการหลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกัน ได้แก่ การสำรวจแมลงสาบ การควบคุมแมลงสาบโดยวิธีต่าง ๆ ทั้งที่ไม่ใช้สารเคมีและการใช้ สารเคมี

1. การสำรวจแมลงสาบ

การสำรวจสถานที่บริการแบ่งเปน 2 ระยะ คือ การสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและภายหลังการ ปฏิบัติงาน ทั้งสองขั้นตอนควรเปนการสำรวจตามมาตรฐาน คือ “การสำรวจอย่างละเอียดถ้วนทั่ว (a through survey)” มีชุดสวมใส่โดยเฉพาะขณะปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเปน เช่น หมวกกันกระแทก หน้ากาก รองเท้านิรภัย เปนต้น และมีอุปกรณ์การสำรวจ เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่างแมลง กับดัก แมลงสาบ กระดานรองเขียนเพื่อจดบันทึก เปนต้น

1.1 การสำรวจก่อนการปฏิบัติงาน

เพื่อตรวจหาชนิด จำนวน และความเสียหายจากการทำลายของแมลงสาบ จัดทำแผนผังของ สถานที่ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงโดยรอบที่จะส่งผลกระทบต่อ การจัดการ แหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหารและปัจจัยอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการระบาด รวมทั้งวางกับดัก แมลงสาบเพื่อประเมินสภาพความชุกชุม เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานผลการสำรวจ (survey finding report) เพื่อนำเสนอลูกค้าพร้อมการเสนอราคาหรือเมื่อมีการตกลงทำสัญญาบริการ รายงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ ในการวางแผนการเข้าทำบริการโดยฝ่ายบริการหรือฝ่ายปฏิบัติการได้

1.2 การสำรวจภายหลังการปฏิบัติงาน

เพื่อต้องการติดตามตรวจสอบผลการทำบริการว่าแมลงสาบลดลงหรือไม่ พร้อมจัดทำรายงาน การติดตามผล (follow-up inspection report) ให้ลูกค้าทราบและเก็บบันทึกเพื่อการอ้างอิงและตรวจสอบ

2. การจัดการแมลงสาบโดยไม่ใช้สารเคมี

เป็นการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนและการตกค้างของสารเคมี ในผลิตภัณฑ์ สินค้า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งผู้ให้ บริการ ผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจดำเนินการได้ดังนี้

2.1 การจัดการโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (5ส.) ดังนี้

สะสาง

แยกและขจัดทิ้งของที่ไม่จำเป็นเพื่อมิให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นแหล่ง อาศัยและเพาะพันธุ์ของแมลงสาบ

สะดวก

จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างระยะเคียงที่เหมาะสมและจัดวาง บนชั้นเพื่อให้สามารถสำรวจปัญหาแมลงสาบได้โดยง่าย ไม่ควรวางสิ่งของ ชิดติดผนังหรือวางบนพื้นโดยตรง

สะอาด

ทำความสะอาดอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำ แหล่ง อาหาร และแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงสาบ จัดให้มีการล้างทำความ สะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันหรือหมักหมมของเศษขยะและ อาหาร

สุขลักษณะ

จัดสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานและที่พักอาศัยให้สะอาด ถูกหลักอนามัย เน้นการดูแลจุดสำคัญ ดังนี้

  • อุด ปดกั้น สกัดกั้น โดยการป ิ ดทางเข้า–ออก ซ่อมแซมรอยแตก รอย ิ ร้าว หรือรอยทรุดตัวของอาคารไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนพักอาศัยของแมลง
  • จัดที่ทิ้งขยะที่มีฝาปิดมิดชิด นำไปทิ้งในเวลาที่เหมาะสม ขยะเปียกและ ขยะประเภทเศษอาหารควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นไม่ให้แมลงสาบ เข้ามาระบาดได้

สร้างนิสัย

ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหน่วยงานอย่าง ต่อเนื่อง และช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงในพื้นที่รับผิด ชอบของตนเอง

2.2 การจัดการโดยวิธีกล

  • ใช้กาวดักแมลงสาบชนิดที่มีเหยื่อล่อ (food attractant)
  • ใช้กล่องดักจับแมลงสาบแบบต่าง ๆ (trapping station)

2.3 การจัดการโดยวิธีกายภาพ

  • สำรวจตรวจสอบวัสดุ สิ่งของ สินค้า และวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาสู่อาคารว่ามีแมลงสาบหรือ ไข่ของแมลงสาบติดเข้ามาด้วยหรือไม่
  • ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลงสาบที่แหล่งหลบซ่อนหรือเมื่อพบเห็นตัว

3. การจัดการแมลงสาบโดยใช้สารเคมี

เมื่อพบว่ามีแมลงสาบอยู่ภายในบ้านเรือนจำเป็นต้องรีบควบคุมกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว ซึ่งสามารถ ดำเนินการโดยการใช้สารเคมี อย่างไรก็ตาม การนำสารเคมีมาใช้ในการควบคุมกำจัดแมลงสาบควรตั้งอยู่บน หลักเกณฑ์การพิจารณาที่จะใช้สารเคมีกำจัดแมลงและการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ สารเคมีกำจัด แมลงสาบที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (ตารางที่ 4.3.1) ได้แก่ สารในกลุ่มคาร์บาเมต (carbamates) ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) สารควบคุมการ เจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) ไฮดราโซน (hydrazones) สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compounds) นีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoids) เฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) และ ซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) สารเคมีเหล่านี้ถูกนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบได้หลายรูปแบบ เช่น แบบของเหลว หมอกควัน สเปรย์อัดก๊าซ ฝุ่นหรือผงสำหรับโรย และเหยื่อพิษ โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดแมลงสาบในบ้านเรือน อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรที่จะใช้สารเคมี กำจัดแมลงแต่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากมีรายงาน ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ที่พบว่าเป็นกลุ่มของสารเคมีที่แมลงสาบเกิดความต้านทานมากที่สุด และแมลงสาบ เยอรมันก็เป็นแมลงสาบที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับแมลงสาบชนิดอื่น ๆ ดังนั้น จึงควรที่จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในการกำจัดแมลงสาบเพื่อป้องกัน ปัญหาแมลงสาบต้านทานสารเคมีกำจัดแมลงในอนาคต โดยในระยะเริ่มแรกที่มีแมลงสาบชุกชุมมากนั้นให้ใช้ สารเคมีกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพดีในการกำจัดแมลงสาบ เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ซึ่งเปนสารในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ หรือ ฟโพรนิล (fipronil) ซึ่งเปนสารในกลุ่มเฟนนีลไพราโซล หลังจากนั้น เมื่อปริมาณแมลงสาบลดลงเหลืออยู่ในระดับต่ำให้เปลี่ยนสารเคมีไปใช้ในกลุ่มอื่น ๆ เช่น คาร์บาเมต ออร์กาโน ฟอสเฟต ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง สลับสับเปลี่ยนกันไป อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการนำวิธีการต่าง ๆ ในการควบคุมแมลงสาบโดยไม่ใช้สารเคมีมาปฏิบัติควบคู่ไปพร้อมกันด้วย

การดำเนินการควบคุมแมลงสาบโดยใช้สารเคมี สามารถทำได้โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

3.1 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว (liquid spray)

การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลวเปนการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงลงบนตัวแมลงสาบ โดยตรง หรือฉีดเคลือบพื้นที่เปาหมายบริเวณที่เปนแหล่งหลบซ่อนอาศัยและแหล่งอาหารของแมลงสาบ เพื่อ กำจัดหรือขับไล่แมลงสาบออกจากที่หลบซ่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้แมลงสาบตายทันที หรือเพื่อ ให้มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อแมลงสาบคลานมาสัมผัสสารเคมีที่ฉีดเคลือบไว้ สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ ไบเฟนทริน (bifenthrin) เบต้า-ไซฟลูทริน ( -cyfluthrin) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไฮโดรพรีน (hydroprene) ฯลฯ การฉีดพ่นสาร เคมีแบบของเหลวสามารถดำเนินการได้ทั้งการฉีดพ่นภายในและภายนอกตัวอาคาร

3.2 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบหมอกควัน (fogging)

การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบหมอกควันเปนวิธีที่เหมาะสำหรับการพ่นกำจัดแมลงสาบใน พื้นที่ปด เช่น ห้องเก็บของ โกดัง หรือคลังสินค้าขนาดเล็ก โดยที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว และสามารถขับไล่แมลงสาบให้ออกจากที่หลบซ่อนได้ เช่น สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ) โดยเน้น พ่นเข้าไปตามซอกมุม ใต้ชั้นวางของ หรือกองหีบห่อสินค้า จากนั้นทำการปดประตู-หน้าต่างอบไว้ สำหรับการ ควบคุมกำจัดแมลงสาบตามท่อหรือรางระบายน้ำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเปนต้องมีการฉีดพ่นสารเคมี แบบของเหลวเคลือบบริเวณปากท่อ ร่อง หรือขอบฝาท่อเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงทำการพ่นหมอกควันเข้าไปใน ท่อระบายน้ำให้หนาแน่น สารเคมีกำจัดแมลงในรูปหมอกควันจะขับไล่และผลักดันแมลงสาบให้หนีขึ้นมาสัมผัส สารเคมีแบบของเหลวที่ฉีดพ่นเคลือบเอาไว้

3.3 การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบสเปรย์อัดกาซ (aerosol)

การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบสเปรย์อัดก๊าซเปนการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงลงบนตัว แมลงสาบโดยตรง หรือฉีดเคลือบพื้นที่เปาหมายบริเวณที่เปนแหล่งหลบซ่อนพักอาศัยและแหล่งอาหารของ แมลงสาบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้แมลงสาบตายทันที หรือเพื่อให้มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อแมลงสาบคลาน มาสัมผัส สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้สำหรับสเปรย์อัดก๊าซ ได้แก่ ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) ไซฟีโนทริน (cyphenothrin) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ การฉีดพ่นสารเคมีแบบสเปรย์อัดก๊าซสามารถดำเนินการภายในบ้านเรือนได้โดยเจ้าของบ้าน

3.4 การใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฝุ่นหรือผง (dust)

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฝุ่นหรือผงเปนวิธีที่เหมาะสำหรับการใช้ควบคุมกำจัดแมลงสาบ ็ ในบริเวณที่ไม่สามารถฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลวได้ เช่น บริเวณแผงสวิทซ์ไฟ ปลั๊กไฟฟ้า เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รอยแตกบนผนังอาคาร ฯลฯ สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ไดอะซินอน (diazinon) เดลต้าเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ฯลฯ

3.5 การใช้เหยื่อพิษ (toxic bait)

การใช้เหยื่อพิษนับว่าเป็นวิธีการควบคุมกำจัดแมลงสาบที่ดำเนินการได้สะดวกทุกสถานที่ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของใด ๆ เป็นวิธีที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดแมลงในสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สุด โดยที่ให้ผลในการกำจัดแมลงสาบค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น ๆ ที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง สารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ในเหยื่อพิษ ได้แก่ กรดโบริก (boric acid) ไฮดราเมทิลนอน (hydramethylnon) อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ฟิโพรนิล (fipronil) ซัลฟลูรามิด (sulfluramid) อะบาเมคทิน (abamectin) ฯลฯ เหยื่อพิษที่ใช้ในการกำจัดแมลงสาบมีหลายรูปแบบ เช่น เจล เม็ด และก้อน เป็นต้น การใช้เหยื่อพิษนี้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในบริเวณที่ไม่สะดวกหรือไม่ปลอดภัยที่จะ ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบของเหลว รวมทั้งการใช้แบบฝุ่นหรือผงได้ เช่น บริเวณที่เก็บอาหารสด/ แห้ง อุปกรณ์และเครื่องใช้สำหรับปรุงอาหาร เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องชงกาแฟ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องแฟกซ์ ปลั๊กไฟ ฯลฯ


  • Blatta orientalis.jpg
    แมลงสาบโอเรียลเตลBlatta orientalis รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 25-30 มม. มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ปีกของตัวเมียนั้นไม่สมบูรณ์และปกคลุมบริเวณ ¾ ของบริเวณส่วนท้องในตัวผู้ ชอบวิ่งมากกว...

  • Supella longipalpa.jpg
    แมลงสาบแถบสีน้ำตาล Supella longipalpa รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 10-15 มม. มีสีเหลืองน้ำตาล มีปีกทั้งตัวผู้เเละตัวเมียแต่ตัวผู้มีปีกยาวกว่า ชอบวิ่ง (อาจจะบินในที่ที่อุณหภูมิสูง) วงจ...

  • Ectobius lapponicus.jpg
    แมลงสาบดัสคี Ectobius lapponicus รูปลักษณ์ ลำตัวมีสีเทาน้ำตาลเข้ม ยกเว้นบริเวณแผ่นด้านหลังบริเวณทรวงอกของเเมลงตัวผู้จะมีสีเข้ม และตัวเมียที่มีสีน้ำตาลเข้มบริเวณช่วงท้อง ตัวเต็มวัย...

  • Ectobius panzeri.jpg
    แมลงสาบเลสเซอร์ Ectobius panzeri รูปลักษณ์ ตัวผู้มีขนาดความยาว 6-8 มม.; ตัวเมียมีขนาดความยาว 5-7 มม. สีน้ำตาลซีดถึงเข้ม, ขามีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ Tegmina (ส่วนผิวหนังที่อยู่ที่บริเว...

  • medium.jpeg
    แมลงสาบสีดำ Platyzosteria novaeseelandiae รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 20 มม. ไม่มีปีก วงจรชีวิต ตัวเมียจะวาง Ootheca (ปลอกหุ้มไข่)ที่มันสร้่างออกมา ที่ข้างในมีไข่ประมาณ 16 ฟอง ต่อวั...

  • Drymaplaneta semivitta.jpg
    แมลงสาบกิสบอน Drymaplaneta semivitta รูปลักษณ์ มีขนาดความยาว 20-45 มม. มีสีดำ/น้ำตาลเข้ม และมีเเถบสีขาวที่เด่นชัดอยู่ด้านข้าง ไม่มีปีก เป็นนักวิ่งที่เร็วมาก วงจรชีวิต ตัวเมียจะว...

  • แมลงสาบซินเนเรีย.jpg
    แมลงสาบซินเนเรียLobster cockroach ชื่อสามัญ : Lobster cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Nauphoeta cinerea (Olivier)Family:BlattidaeOrder:Blattodea Lobster cockroach เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ล...

  • แมลงสาบมาดากัสการ์.jpg
    แมลงสาบมาดากัสการ์ ชื่อสามัญ : Madaguscar cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Gromphadorhina portentosaFamily :BlaberidaeOrder:Blattodea แมลงสาบมาดากัสการ์ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวและอกสีเข้มกว่า...

  • แมลงสาบคอนซินนา.jpg
    แมลงสาบคอนซินนา ชื่อสามัญ : concinna cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Hebardina concinnaFamily:BlattidaeOrder:Blattodea แมลงสาบคอนซินนา ,uสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก มันวาว ตัวผู้ยาวประมาณ 18.0 ...

  • แมลงสาบผี.jpg
    แมลงสาบผีHarlequin cockroach ชื่อสามัญ : Harlequin cockroachชื่อวิทยาศาสตร์:Neostylopyga rhombifolia Family :BlattidaeOrder :Blattodea แมลงสาบผี เป็นแมลงสาบที่มีลำตัวขนาดปานกลางจนถ...

  • แมลงสาบฟูริจิโนซ่า.jpg
    แมลงสาบฟูริจิโนซ่าSMOKYBROWN COCKROACH ชื่อสามัญ : smokybrown cockroachชื่อวิทยาศาสตร์ : Periplaneta fuliginosa Family :BlattidaeOrder :Blattodeaแมลงสาบฟูริจิโนซ่า เป็นแมลงสาบที่มี...

  • แมลงสาบเฟอร์นิเจอร์.jpg
    แมลงสาบเฟอร์นิเจอร์BROWN-BANDED COCKROACH ชื่อสามัญ : brown-banded cockroach, Furniture cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Supella longipalpaFamily:BlattidaeOrder:Blattodea แมลงสาบเฟอร์นิเจ...

  • Pycnoscelus surinamensis.jpg
    แมลงสาบสุรินัมSURINAM COCKROACH ชื่อสามัญ : Surinam cockroachชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnoscelus surinamensisFamily : BlaberidaeOrder : Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหน...

  • แมลงสาบเอเชีย ASIA COCKROACH.JPG
    แมลงสาบเอเชียASIA COCKROACH ชื่อสามัญ: asian cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Blattella asahinaiFamily: BlattellidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด : แบบเส้นด้...

  • แมลงสาบเยอรมัน.jpg
    แมลงสาบเยอรมันGERMAN COCKROACH ชื่อสามัญ: German cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Blattella germanicaFamily: BlattellidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด : แบบเ...

  • แมลงสาบอเมริกัน AMERICAN COCKROACH.jpg
    แมลงสาบอเมริกันAMERICAN COCKROACH ชื่อสามัญ: American cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Periplaneta americanaFamily: BlattidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษณะหนวด :...

  • แมลงสาบออสเตรเลีย AUSTRALIAN COCKROACH.jpg
    แมลงสาบออสเตรเลียAUSTRALIAN COCKROACH ชื่อสามัญ: australian cockroachชื่อวิทยาศาสตร์: Periplaneta australasiaeFamily: BlattidaeOrder: Blattodea ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา ลักษ...
Visitors: 435,209