มด ANT

มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae 

อันดับ Hymenoptera 

มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนหนวด และส่วนท้อง

หนวด ของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้

  • มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
  • มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
  • มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
  • มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง
 

ตา แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ตารวมและ ตาเดี่ยว

  • ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
  • ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด

มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

 

ปาก ของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)

  • ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
  • ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
  • ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

ท้อง เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร

ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของมด

มีมดมากมายหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในแง่ที่เป็นโทษ มดจะเข้ามามีส่วนแบ่ง ในอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากทุกปีในการป้องกันกำจัด นอกจากนั้น ยังทำ อันตรายกับมนุษย์ได้โดยตรงโดยการกัด หรือต่อย พร้อมทั้งปล่อยสารพิษลงไปในรอยแผลที่กัดหรือต่อยนั้น ทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัด แต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้อง และมีบางชนิด ที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ทั้งกัดและต่อยทำให้บริเวณนั้นมีอาการคัน ปวดบวม หรือปวดแสบปวดร้อน ซึ่ง อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคน อายุ และตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อย ตัวอย่างเช่น มดคันไฟ (Solenopsis spp.) ที่เริ่มทำอันตรายเหยื่อด้วยการกัด และพบว่าการกัดจะกระตุ้น ให้เหล็กในเริ่มทำงานและต่อยศัตรูพร้อมกับปล่อยสารพิษจากเหล็กในใส่เหยื่อหลังจากการกัดนั้น มด สามารถต่อยด้วยเหล็กในอันเดิมได้หลายครั้ง ซึ่งจะต่างจากผึ้งที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียวและจะทิ้งเหล็กในไว้ ในบริเวณที่ถูกต่อย จากการศึกษาสารพิษของมดคันไฟพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ

สารอัลคาลอยด์ และสารโปรตีนชนิดต่าง ๆ โดยสารพิษจะผลิตออกมาจากต่อมที่อยู่ภายในท้องซึ่งเชื่อมต่อ กับเหล็กในที่เราเห็นยื่นจากปลายท้องของมด สารอัลคาลอยด์จะเป็นพิษกับเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการตาย จากนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบเซลล์ที่ตายตามกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิด เป็นตุ่มหนอง (รูปที่ 4.1.2) และถ้าตุ่มหนองนั้นแตกออกและไม่มีการรักษาความสะอาดอาจทำให้เกิดการ ติดเชื้อซ้ำจากแบคทีเรีย (secondary infection) ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ สำหรับสารโปรตีนนั้น อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ทั้งแบบไม่รุนแรงจนถึงแบบรุนแรงที่มีอาการช็อค (anaphylactic shock) โดยเฉพาะ ในรายที่แพ้มาก ๆ นอกจากนั้น มดยังสามารถเป็นตัวพาเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเชื้อโรคจะติดมาตามร่างกายของมด ซึ่งเมื่อมดพวกนี้เข้ามาในบ้านและขึ้นมากินอาหารของคน เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร (mechanical transmission) ได้

พฤติกรรมของมด

มดเป็นแมลงที่กำเนิดมาช้านาน โดยเมื่อศึกษาจากซากฟอสซิลนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มดกำเนิด เมื่อ 50 ล้านปี มาแล้ว มดเปนแมลงที่มีวิวัฒนาการสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสามารถ อยู่รอดได้ดี เนื่องจากมดมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมเหล่านี้ประกอบด้วย

1. พฤติกรรมการผสมพันธุ์และการสร้างรัง

เมื่อประชากรภายในรังมีความหนาแน่นมากและต้องการขยายรัง สมาชิกมดในวรรณะสืบพันธุ์ ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะบินออกจากรังเดิมเพื่อจับคู่กับมดจากรังอื่น โดยมดงานจะช่วยขุดรูให้เปนทางออก ของมดในวรรณะสืบพันธุ์ดังกล่าว มดที่มีวิวัฒนาการสูงจะจับคู่และผสมพันธุ์บนที่สูง เช่น บนต้นไม้ ส่วน มดที่มีวิวัฒนาการต่ำจะผสมพันธุ์บนพื้นดิน หลังจากผสมพันธุ์แล้วเฉพาะมดเพศเมียจะหาพื้นที่ที่เหมาะสม ในการสร้างรังซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของมด แล้วเริ่มต้นสร้างรังใหม่ โดยจะสลัดปีกออกกลายเปน มดราชินีและเริ่มต้นวางไข่ การวางไข่ครั้งแรกจะวางเปนกลุ่มเล็ก ๆ มดรุ่นแรกนี้จะเปนมดงานเพียงวรรณะเดียว โดยมดราชินีจะทำหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเอง โดยการให้กินไข่ชุดที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จนมดงานรุ่นแรกนี้เจริญเติบโตเป็นมดงานที่ทำหน้าที่ออกหาอาหารเองได้ และเมื่อมีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดราชินีจะทำหน้าที่วางไข่และควบคุมพฤติกรรมภายในรังเพียงอย่างเดียว (รูปที่ 4.1.5) ทั้งนี้ ฤดูกาล และสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของอาหารจะมีอิทธิพลต่อการ ผสมพันธุ์ เมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นมดราชินีจะมีการผลิตมดวรรณะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย เพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์ขยายรังต่อไป

2. พฤติกรรมการหาอาหาร

มดงานออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืนแต่ส่วนใหญ่จะพบมากในเวลากลางวัน มดงาน กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งสามารถเป็นตัวห้ำกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ กินสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว และกินได้ทั้ง เมล็ดพืชหรือดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะ จนเต็มแล้วนำกลับไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกตัวอื่น ๆ ภายในรังได้ โดยใช้วิธีสำรอกออกมาในเวลาประมาณ ไม่เกิน 20 ชั่วโมง

3. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร

มดมีการติดต่อสื่อสารโดยปล่อยสารที่เรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone) ที่มดตัวอื่นจะรับการ ติดต่อได้โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น

3.1 ฟีโรโมนนำทาง (trail pheromone) โดยมดจะปล่อยไว้ตามทางที่มันเดินผ่านเพื่อให้ สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง และเมื่อพบอาหารปริมาณมาก ๆ มดจะช่วยกันปล่อยฟีโรโมนทำให้มีมดเป็นจำนวนมากกรูมาที่อาหารอย่างรวดเร็วเพื่อนำอาหารกลับไปเลี้ยงสมาชิกตัวอื่น ๆ ภายในรัง

3.2 ฟีโรโมนเตือนภัย (alarm pheromone) พบว่าเป็นฟีโรโมนที่เมื่อปล่อยออกมาใน ปริมาณน้อย ๆ จะใช้สื่อสารด้านการเตือนภัย แต่ถ้าปล่อยออกมาในปริมาณมาก ๆ จะสามารถควบคุม พฤติกรรมบางอย่างของมดได้ด้วย เช่น ให้เข้าโจมตีศัตรู หรือขุดรูเพื่อหลบภัย และพบว่าฟีโรโมนชนิดนี้ จะไม่จำเพาะเจาะจงกับชนิดของมดเหมือนกับฟีโรโมนนำทาง

3.3 ฟีโรโมนอื่น ๆ มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น มดตัวอ่อนสามารถปล่อย ฟีโรโมนกระตุ้นให้มดงานป้อนอาหารให้เมื่อมันรู้สึกหิว หรือฟีโรโมนที่มดราชินีปล่อยออกมาเพื่อควบคุม กิจกรรมของประชากรภายในรัง

4. พฤติกรรมการใช้เสียง

มีรายงานว่ามดบางชนิดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียงเพื่อเป็นการเตือนภัยเรียก สมาชิกตัวอื่น ๆ ให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรู หรือเรียกมาช่วยเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น 

Visitors: 434,621