มดละเอียด THE INDICUM ANT

มดละเอียด
THE INDICUM ANT

ชื่อสามัญ: The arboreal bicolored ant
ชื่อวิทยาศาสตร์: Monomorium indicum
Family: Formicidae
Order: Hymenoptera 


ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบหักข้อศอก (geniculate) มี 12 ปล้อง
ลักษณะปีก : มดวรรณะสืบพันธุ์มีปีกแบบ membrane (บางใส)
ลักษณะปาก : แบบกัดกิน  (chewing  type) 
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัวประมาณ 2.5 - 3.5 mm. สีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส อกยาวแคบเห็นเส้นแบ่งอกปล้องที่สองและอกปล้องที่สาม (meso-metanotal suture) ชัดเจน มี pedicel 2 ปุ่ม รูปไข่
พฤติกรรม : มดละเอียดมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ คือ มดวรรณะสืบพันธุ์จะบินมาจับคู่ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้ตาย จากนั้นตัวเมียเริ่มสร้างโคโลนีใหม่และวางไข่ภายใน 24 ชั่วโมงแรก

มดละเอียดมีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) มีระยะเวลาประมาณ 8-10 วัน นางพญาวางไข่ 300-500 ฟอง
  • ตัวอ่อน (larva) มี 4 ระยะ  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6-12 วัน
  • ดักแด้ (pupa) มีระยะเวลาอยู่ที่ 9-16 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) มดงานมีอายุไขเฉลี่ยประมาณ 30-180 วัน ส่วนนางพญา 2-6 ปี หลังจากที่มีมดงานรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น นางพญาก็สามารถวางไข่ได้มากถึง 800 ฟองต่อวัน

แหล่งอาหาร : กินอาหารได้หลากหลาย เช่น น้ำตาล น้ำหวาน ผลไม้ ซากสัตว์ เป็นต้น
แหล่งอาศัย : พบตามบ้านที่อยู่อาศัย มักทำรังในที่โล่งหรือที่มีแดดส่องถึง ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุย ดินทราย โดยรังหนึ่ง ๆ มีรูทางเข้า-ออกเล็ก ๆ บนพื้นดินได้หลายรู
การแพร่กระจาย : มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบอินเดีย และเอเชีย ในเขตร้อน 


วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มดชนิดนี้เข้ามาภายในบ้าน
  • ไม่ทำเศษอาหารหกเลอะเทอะ ถ้าหกก็ให้ทำความสะอากทันที
  • ใช้แป้งเย็นไล่มด
  • ใช้ชอล์กกำจัดมด เจลหยอดมด
  • น้ำมะนาวช่วยไล่มดได้ น้ำมะนาวเป็นอีกกลิ่นที่มดไม่ชอบเหมือนกัน เพราะมีกรดซิตริกที่มดเกลียดมาก วิธีง่ายๆ ในการไล่มด โดยผสมน้ำมะนาว 1 ส่วน กับน้ำเปล่า 3 ส่วน แล้วนำไปใส่ในขวดสเปรย์ จากนั้นจึงนำไปฉีดพ่นไปในบริเวณที่มดเดินเป็นประจำ
  • กำจัดมดคันไฟด้วยน้ำส้มควัน ไม้น้ำส้มควันไม้จะช่วยไล่มดให้หนีไปอยู่ที่อื่น โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับไล่มดที่มาทำรังอยู่ใกล้กับต้นไม้หากคุณปลูกพืชผักต่าง ๆ แล้วเห็นมดมาทำรังอยู่ ใช้วิธีนี้จัดการได้

เอกสารอ้างอิง

Eiseman, Charley, Noah Charney, and John Carlson. Tracks & Sign of Insects & Other Invertebrates: Guide to North American Species. Mechanicsburg, PA:Stackpole, 2010. Print.

Evans, Arthur V. National Wildlife Federation Field Guide to Insects and Spiders & Related Species of North America. New York: Sterling Pub., 2007. Print.           

Resh, Vincent H., and Ring T. Cardé. Encyclopedia of Insects. Amsterdam: Academic, 2003. Print. 

Bharti, H., Sharma, Y.P., Kaur, A. 2009. Seasonal patterns of ants (Hymenoptera: Formicidae) in Punjab Shivalik. Halteres 1: 36-47.

Bingham, C. T. 1903. The fauna of British India, including Ceylon and Burma. Hymenoptera, Vol. II. Ants and Cuckoo-wasps. London: Taylor and Francis, 506 pp. (page 205, Raised to species)


แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 433,366