มดตะนอยอกส้ม THE ARBOREAL BICOLORED ANT

มดตะนอยอกส้ม
THE ARBOREAL BICOLORED ANT

ชื่อสามัญ: The arboreal bicolored ant
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tetraponera rufonigra
Family: Formicidae
Order: Hymenoptera 

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะหนวด : แบบหักข้อศอก (geniculate)
ลักษณะปีก : มดวรรณะสืบพันธุ์มีปีกแบบ membrane (บางใส)
ลักษณะปาก : แบบกัดกิน  (chewing  type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีลำตัวเรียวยาวมาก และมีขาสั้น บริเวณส่วนหัว ส่วนท้อง (abdomen) และส่วนบนของขา (femur) เป็นสีดำ และบริเวณส่วนอก (thorax) และ Pedicel เป็นสีส้มแดง  ความยาวลำตัวของมดงานประมาณ 10.0-12.0 mm. ความยาวลำตัวของมดนางพญา มีความยาว 13.0– 15.0 mm.

มดตะนอยอกส้ม มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : มีระยะเวลาประมาณ 8-10 วัน นางพญาวางไข่ 300-500 ฟอง
  • ตัวอ่อน (larva) : มี 4 ระยะ  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6-12 วัน
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลาอยู่ที่ 9-16 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มดงานมีอายุไขเฉลี่ยประมาณ 4-7 ปี ส่วนนางพญา 12-15 ปี

แหล่งอาหาร : กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เช่น น้ำตาล น้ำหวาน ผลไม้ ซากสัตว์ เป็นต้น
แหล่งอาศัย : พบตามป่าสงวนแห่งชาติ ป่า ลำน้ำ โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทย และพบได้ตามป่าของประเทศลาว
การแพร่กระจาย มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอินเดีย และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

วิธีการป้องกันควบคุม 

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มดชนิดนี้เข้ามาภายในบ้าน
  • ไม่ทำเศษอาหารหกเลอะเทอะ ถ้าหกก็ให้ทำความสะอากทันที
  • ใช้แป้งเย็นไล่มด
  • ใช้ชอล์กกำจัดมด เจลหยอดมด
  • น้ำมะนาวช่วยไล่มดได้ น้ำมะนาวเป็นอีกกลิ่นที่มดไม่ชอบเหมือนกัน เพราะมีกรดซิตริกที่มดเกลียดมาก วิธีง่ายๆ ในการไล่มด โดยผสมน้ำมะนาว 1 ส่วน กับน้ำเปล่า 3 ส่วน แล้วนำไปใส่ในขวดสเปรย์ จากนั้นจึงนำไปฉีดพ่นไปในบริเวณที่มดเดินเป็นประจำ
  • กำจัดมดคันไฟด้วยน้ำส้มควัน ไม้น้ำส้มควันไม้จะช่วยไล่มดให้หนีไปอยู่ที่อื่น โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับไล่มดที่มาทำรังอยู่ใกล้กับต้นไม้หากคุณปลูกพืชผักต่าง ๆ แล้วเห็นมดมาทำรังอยู่ ใช้วิธีนี้จัดการได้ 

 

เอกสารอ้างอิง 

Bharti, H. and Akbar, S.A. 2014. Tetraponera periyarensis, a new pseudomyrmecine ant species (Hymenoptera: Formicidae) from India. Asian Myrmecology. 6:43–48.


 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 433,204