ปลวก โอดอนโตเทอร์เมส ODONTOTERMES TERMITE

ปลวก โอดอนโตเทอร์เมส
ODONTOTERMES TERMITE

ชื่อสามัญ: ปลวกโอดอนโตเทอร์เมส
ชื่อวิทยาศาสตร์: Odontotermes spp.
Family: Termitidae
Order: Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 3 mm. ส่วนหัวมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม กราม (mandible) ใหญ่ ลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลอมเหลือง

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

แหล่งอาหาร : กินเนื้อไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ ซากพืช และเชื้อราที่เพาะเลี้ยงไว้ในรัง การเข้าทำลายไม้ใกล้เคียงกับปลวกในสกุล Macrotermes โดยนำดินมาเคลือบบริเวณผิวไม้ ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ กัดกินเนื้อไม้จากผิวเข้าไปเป็นพื้นที่กว้างตามแนวขวางเสี้ยนไม้ ทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนและไม้ที่ใช้ประโยชน์กลางแจ้ง
แหล่งอาศัย : เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก (mound-building termite) สร้างรังดินขนาดกลางถึงใหญ่เป็นเนินอยู่บนพื้นดิน และยังเป็นปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อรา (fungus-growing termite) ซึ่งเพาะเลี้ยงเชื้อราอยู่ภายในรัง เรียกว่า สวนเห็ด (fungus garden)
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของแอฟริกาและเอเชีย พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นภาคกลาง
พฤติกรรม : เป็นแมลงสังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ*

วรรณะงาน (worker)
: เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร สร้างรัง ซ่อมแซมรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน วรรณะสืบพันธุ์ และปลวกทหาร

วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีกรามใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน
วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

เอกสารอ้างอิง

Lertlumnaphakul, W.; Ngoen-Klan, R.; Vongkaluang, C.; Chareonviriyaphap, T. A Review of Termite Species and Their Distribution in Thailand. Insects 2022, 13, 186. https://doi.org/10.3390/insects13020186 

Termite web. (n.d.). Termite pictures – Odontotermes longignathus. Accessed on September 1, 2022, From https://www.termiteweb.com/termite-pictures-odontotermes-longignathus/

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). ปลวก (Odontotermes proformosanus). แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofinsect&id=1175&view=showone&Itemid=103, 1 กันยายน 2565

Chiu, Chun-I; Yeh, Hsin-Ting; Li, Pai-Ling; Kuo, Chih-Yu; Tsai, Ming-Jer; Li, Hou-Feng (17 September 2018). "Foraging phenology of the fungus-growing termite Odontotermes formosanus (Blattodea: Termitidae)". Environmental Entomology. 47 (6): 1509–1516.

Picker, Mike; et al. (2004). Field Guide to Insects of South Africa. Cape Town: Struik Publishers. p. 56.

 

Visitors: 433,340