ปลวก เลือด HYPOTERMES TERMITE

ปลวก เลือด
HYPOTERMES TERMITE

ชื่อสามัญ: ปลวกเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypotermes makhamensis
Family: Termitidae
Order: Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : เป็นปลวกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 mm. มีลักษณะเด่นที่ส่วนหัว (head capsule) มีสีน้ำตาลเข้ม รูปร่างกลม ลำตัวสีขาวอมเหลืองหรือน้ำตาล กรามด้านซ้ายมีฟันอยู่ด้านใน ส่วนกรามด้านขวาเรียบ

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น


แหล่งอาหาร :
 กินเนื้อไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ ซากพืช และเชื้อราหรือเห็ดพี่เพาะเลี้ยงไว้ในรัง ออกหากินโดยการทำทางเดินดินเป็นแผ่นปกคลุมบนพื้นดินหรือต้นไม้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ป่า ช่วยย่อยสลายเศษซากใบไม้ หรือไม้ที่ตายแล้ว
แหล่งอาศัย : เป็นปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อรา (fungus-growing termite) เพาะเลี้ยงเชื้อราไว้ในรัง เรียกว่า สวนเห็ด (fungus garden) สร้างรังใต้ดินไม่สามารถมองเห็นรังที่แท้จริงได้ เป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งเขตร้อน
การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เวียดนาม และกัมพูชา แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พฤติกรรม : มักพ่นสารสีแดงคล้ายเลือดออกมาเพื่อป้องกันศัตรูที่เข้ามารบกวน ชาวบ้านจึงมักเรียกว่าปลวกเลือด เป็นสัตว์สังคม แบ่งเป็นระบบวรรณะ

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร สร้างรัง ซ่อมแซมรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน วรรณะสืบพันธุ์ และปลวกทหาร
วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีกรามใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน
วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

เอกสารอ้างอิง

Lavelle, P.; Spain, A. (2001). Soil Ecology. Springer. p. 503.

Yamada, A.; Takematsu, T. K.; Hyodo, F.; Fujita, A.; Kumai, T.; Tayasu, I.; Abe, T.; Klangkaew, C.; Kirtbutr, N.; Kudo, T. (2003). "Abundance and biomass of termites (Insecta: Isoptera) in dead wood in a dry evergreen forest in Thailand" (PDF). Sociobiology. 42 (3): 569–585.

Yupaporn Sornnuwat and Surang Thienhirun. (n.d.). Potential Species of Fungus-Growing Termites for Termite Mushroom Production in Thailand. Accessed on September 3, 2022, From file:///C:/Users/User/Downloads/KC4301088%20(1).pdf


แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,053