การจัดการหนู(rodent management)

การจัดการหนู(rodent management)

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยง หรือหลบหลีกวิธีการปฏิบัติ ของมนุษย์ที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนูได้ การป้องกันและกำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีไปพร้อมกัน จึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลักการจัดการหนูแบบบูรณาการ (integrated rodent pest management) จึงควรนำมาใช้เป็นยุทธวิธีในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดหนู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าวิธีอื่นใด โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การสำรวจปริมาณหนูจากร่องรอยของหนูและประเมินปัญหาหนูในพื้นที่

ตลอดจนการทำ แผนที่สภาพพื้นที่ต้องการควบคุมหนู ตำแหน่งที่วางภาชนะใส่เหยื่อพิษ และวางแผนการปฏิบัติงาน โดย

1.1 สำรวจร่องรอยของหนู มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการป้องกันและกำจัดหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่ บริเวณนั้นหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ร่องรอยหนูที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้

รอยกัดแทะ

เนื่องจากหนูมีนิสัยชอบกัดแทะเพื่อกินอาหารและลับฟัน หากเราพบรอยกัดแทะใหม่ ๆ ของอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ สามารถยืนยันได้ว่า ณ ที่นั้นมีหนูอยู่ และอาจจำแนกชนิดของหนูที่มีอยู่ได้ว่า เป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่จากขนาดของร่องรอยกัดแทะนั้น

โพรง หรือรูหนู

หนูนอรเวชอบอาศัยในที่ที่มีลักษณะเปียก ชื้น เรียบมัน อาจขุดรูเป็นโพรงลงในดิน และ มักมีขุยดินมากมายกองหน้าปากรูทางเข้า หรืออาจอาศัยบริเวณที่พักและน้ำท่วมไม่ถึงภายในท่อระบายน้ำ สำหรับรูของหนูท้องขาวบ้านมักไม่พบขุยดิน

รอยทางเดิน และรอยตีนหนู

หนูใช้เส้นทางเดิมเวลาออกหากินเสมอ ถ้าพบหนูอาศัยภายนอกอาคารหรือโรงเรือน จะ เห็นทางเดินเล็ก ๆ บนผิวดินบริเวณใกล้กำแพงเปนทางราบเรียบ ระหว่างต้นวัชพืช หรือลอดใต้กองฟาง หรือรอบต้นไม้ที่หนูชอบปีนป่ายไปหาอาหารหรือพักอาศัย หรือตามฝาผนัง กำแพงภายในอาคาร มักพบ รอยคราบสกปรกดำ อันเนื่องจากไขมันจากขนบริเวณท้องและปสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบรอยตีนหนู มูลหนู และขนของหนูด้วยเช่นกัน หากทางนั้นใช้เปนเวลานาน ๆ จะมองเห็นทางได้ชัดเจน

มูลหนู และปัสสาวะหนู

มูลของหนูใหม่ ๆ จะเปียก นุ่มเหนียว เปนมัน เวลากดเปลี่ยนรูปได้ง่าย มักพบบริเวณที่ กินอาหาร และบริเวณทำกิจกรรมต่าง ๆ ขนาดของมูลหนูอาจจำแนกชนิดของหนูเบื้องต้นได้ เช่น มูลของ หนูนอรเว รูปที่ 4.7.4 (ก) มีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายแคปซูลยา หัวท้ายมน ยาว 12-15 มิลลิเมตร สีดำมัน ส่วนมูลของหนูท้องขาวบ้าน (ข) มีขนาดเล็ก และแห้งกว่า รูปร่างคล้ายกระสวย ยาว 10-12 มิลลิเมตร นอกจากนี้ บริเวณที่พบมูลหนู มักพบรอยเปียกจากปสสาวะหนูในบริเวณที่หนูกินอาหารด้วย เช่น คราบ หรือปสสาวะหนูบนกระสอบอาหาร เปนต้น

ลักษณะอื่น ๆ

สามารถใช้เปนตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในบริเวณนั้นได้ด้วย เช่น เสียงร้อง เสียงวิ่ง กลิ่นสาบ ซากหนู เปนต้น สำหรับการพบเห็นหนูในเวลากลางวัน 1 ตัว ก็อาจประมาณได้ว่า ณ บริเวณนั้นมีหนู ประมาณ 25 ตัว

2. การป้องกันและกำจัดหนูโดยวิธีการต่าง ๆ

2.1 โดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (sanitation and environmental management)

2.1.1 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เน้นการรักษาความสะอาดบ้านเรือนแหล่งชุมชน ฯลฯ การเก็บ ขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดขยะที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น จะช่วยลดปริมาณหนู รวมถึงการแพร่เชื้อโรคสู่สัตว์เลี้ยงและมนุษย์ลงได้ สำหรับในโรงเรือนที่เก็บผลผลิตการเกษตร อาหาร และสินค้าอุปโภคชนิดต่าง ๆ ควรมีการจัดเก็บวางสินค้า เหล่านี้บนชั้นวางของอย่างเป็นระเบียบ หรือวางกระสอบผลผลิตทางการเกษตรบนชั้นไม้ หรือชั้นพลาสติก (palette) และอยู่สูงจากพื้นซีเมนต์ประมาณ 30 เซนติเมตร และวางห่างจากฝาผนังห้องประมาณ 0.5-1 เมตร

2.1.2 การจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู

  • มีที่จัดเก็บอาหาร สินค้า สิ่งของ และวัสดุต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบและถูกต้อง ตามหลักสุขอนามัยที่ดี การจัดระเบียบและทำความสะอาดภายในอาคารอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยในการ ลดที่อยู่อาศัยของหนูได้
  • ทำลายรูหนู หรือที่อยู่อาศัยของหนูภายนอกอาคาร ตลอดจนการตัดหญ้า และ ตัดแต่งต้นไม้ที่หนาทึบ ทั้งบริเวณในและรอบบ้าน จะช่วยลดที่หลบซ่อนตัวของหนูลงได้
  • บริเวณรอบ ๆ ตัวอาคาร ต้องดูโล่งและเข้าถึงได้ทุกจุด ไม่มีบริเวณที่เป็นมุมอับ ที่หนูจะเข้ามาหลบซ่อนได้เช่นกัน

2.1.3 การป้องกันไม่ให้หนูเข้าตัวอาคารหรือโรงเรือน

  • ก่อนการสร้างอาคารหรือโรงเรือนใหม่ทุกครั้ง ต้องมีการออกแบบตัวอาคารที่ สามารถป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาภายในได้
  • สำหรับอาคารเก่าที่ไม่มีการวางแผนป้องกันการเข้ามาของหนู ต้องทำการปิดทาง เข้าทุกทางที่หนูสามารถเข้าไปในตัวอาคารได้ เช่น ใช้กรวยสังกะสีหรือแผ่นอลูมิเนียมเรียบ ครอบเสาโรงเรือน และยุ้งฉาง ใช้แผ่นสแตนเลสหรือลวดตาข่ายปิดทางเข้าของหนูสู่ตัวอาคาร นอกจากนั้น การใช้แผ่นสังกะสีตี ปิดตามประตูทางเข้ายุ้งฉาง โรงเก็บ หรือทางเข้าอาคาร สูง 60 เซนติเมตร จะสามารถป้องกันมิให้หนู แทะประตูผ่านเข้ามาได้

2.2 โดยวิธีกล (mechanical control)

  • ใช้กรงดัก
  • ใช้กับดักแบบต่าง ๆ
  • ใช้กาวดัก
  • ใช้รั้วพลาสติก เป็นต้น

2.3 โดยวิธีกายภาพ (physical control)

  • ใช้เครื่องกำเนิดเสียงอัลตราซาวด์ หรือคลื่นเสียงแบบอื่น ๆ ไล่หนูออกจากบริเวณที่ต้องการ ควบคุม
  • ใช้รั้วไฟฟ้า
  • ใช้น้ำ กักให้ท่วมบริเวณที่ต้องการควบคุมเป็นการชั่วคราว

2.4 โดยชีววิธี(biological control)

เป็นการใช้ศัตรูธรรมชาติของหนูที่มีศักยภาพสูง เพื่อควบคุมประชากรหนูในระดับหนึ่ง ได้แก่ การใช้สัตว์ผู้ล่าหนูเป็นอาหาร เช่น นกแสก งู พังพอน เป็นต้น และการใช้ปรสิต (parasite) หรือ เชื้อโรคที่พบในหนูกำจัดหนู เช่น เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนูสำเร็จรูป (Sarcocystis singaporensis) (ภาค ผนวก 1) เป็นต้น การป้องกันและกำจัดหนูวิธีนี้เหมาะในรักษาความสมดุลของประชากรหนูไม่ให้สูงมากนัก และถ้าใช้ร่วมกับวิธีการป้องกันกำจัดหนูวิธีอื่น ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมหนูได้ดียิ่งขึ้น และ เป็นเวลานานขึ้น

2.5 โดยวิธีกำจัดหนูด้วยสารเคมี(chemical control)

2.5.1 เป็นการลดจำนวนหนูโดยใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสารสกัดจากพืช ได้แก่

1.การใช้สารรม (fumigants)

วิธีการนี้เหมาะที่ใช้กำจัดหนูในบริเวณที่มีที่ปิดมิดชิด เช่น ยุ้งฉาง โกดังเก็บ สินค้าและของเหลือใช้ ที่เก็บของในเรือบรรจุสินค้า สารรมที่ใช้รมหนู ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulphur dioxide) เมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) อลูมิเนียมฟอสไฟด์ (aluminium phosphide) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ขอแนะนำวิธีดังกล่าวนี้หากเป็นการใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

2.การใช้สารเคมีกำจัดหนู (rodenticides)

ถ้าแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ในการกำจัดหนู มี 2 ประเภท คือ

ก. สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว (acute poisoned rodenticides หรือ single dose rodenticides)

เป็นสารที่ออกฤทธิ์เฉียบพลันทันที เมื่อหนูได้รับสารนี้เข้าไปเพียงครั้งเดียว (single dose) หรือช่วงระยะเวลาสั้น สารดังกล่าวนี้ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาททำให้หนูเป็นอัมพาต และตายในที่สุด นอกจากนั้น ยังไปทำลายตับ ไต ระบบหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวหรืออัมพาต หนูจะตาย ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ถึง 1 วัน สารประเภทนี้มักใช้ในอัตราความเข้มข้นที่สูง เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ (zinc phosphide) 0.8-1% เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง

ข. สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า (chronic poisoned rodenticides, slow acting posioned rodenticides, multiple dose rodenticides หรือ anticoagulant rodenticides)

เป็นสารกำจัดหนู ที่หนูต้องกินติดต่อกันช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือกินครั้งเดียว และสะสมพิษในร่างกายถึงปริมาณเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำให้หนูตาย โดยเกิดอาการเลือดไม่แข็งตัว (anticoagulant) ทำให้เลือดไหลออกทางหลอดเลือดฝอย และช่องเปิดของร่างกาย ตามบาดแผล ทำให้ มีเลือดคั่งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และหนูตายในที่สุดภายในระยะเวลา 3–15 วัน เป็นเหยื่อพิษ สำเร็จรูปที่มีอัตราความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ ตั้งแต่ 0.005-0.1% แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ วอร์ฟาริน (warfarin)

ซึ่งผลิตขึ้นเป็นชนิดแรก เพื่อใช้ ทดแทนสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว และสามารถแก้ปัญหาการเข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษ (bait shyness) เพราะหนูไม่แสดงอาการป่วยกะทันหัน ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกันกับสารกำจัดหนูออกฤทธิ์เร็ว หนูต้องกินเหยื่อพิษกลุ่มนี้หลายวันเพื่อสะสมพิษให้ถึงปริมาณที่ทำให้หนูตาย ซึ่งทำให้เกิดผลเสียที่ติดตาม มาในภายหลัง คือ ในปี ค.ศ. 1958 มีรายงานความต้านทานของหนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) และ หนูนอรเว (Rattus norvegicus) ต่อสารกำจัดหนู warfarin ในหลายประเทศในทวีปยุโรป ทั้งใน ประเทศสก๊อตแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ค และสหรัฐอเมริกา ทำให้การกำจัดหนูด้วย warfarin ไม่ประสบสำเร็จมากนัก ดังนั้น จึงได้มีการวิจัยพัฒนาและผลิตสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้ากลุ่มนี้อีก หลายชนิด เช่น ฟูมาริน (fumarin) คูมาคลอร์ (coumachlor) คูมาเตตระลิล (coumatetralyl) โดย เฉพาะสาร coumatetralyl มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่มีพิษต่อหนูมากกว่า จึงถูกนำมาใช้กำจัดหนูที่ ต้านทานต่อ warfarin และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

กลุ่มที่ 2 เป็นสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าที่มีการพัฒนาและผลิตขึ้น มาใช้กับหนูและสัตว์ฟันแทะที่ต้านทานต่อ warfarin

สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงกว่าสารกำจัดหนูกลุ่ม ออกฤทธิ์ช้าในกลุ่มแรก สามารถเอาชนะปัญหาความต้านทานของหนูและสัตว์ฟันแทะได้ เช่น ไดฟีนาคูม (difenacoum) โบรดิฟาคูม (brodifacoum) โบรมาไดโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดฟีไทรอะโลน (difethialone) ทั้ง 5 ชนิดนี้ เป็นสารที่มีความเป็นพิษคล้ายคลึงกับ สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าอื่น ๆ แต่เป็นสารกำจัดหนูที่กินเพียงครั้งเดียวก็ถึงตาย (single dose rodenticides หรือ one feed kill) และยังมีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์ที่ล่าหนูเป็นอาหารโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งต่อนกนักล่า

2.5.2 การขับไล่หนูออกจากพื้นที่หรือไม่ให้กัดทำลายสิ่งของ

ได้แก่ การใช้สารไล่หนู (repellent) เพื่อป้องกันการทำลายสิ่งของ และวัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ที่เก็บไว้ หรือผลิตผลที่เก็บไว้ หรือป้องกันการปนเปื้อนจากหนู หรือป้องกันหนูเข้ากัดแทะเมล็ดพืช ที่ปลูก เช่น การใช้ เอนดริน (endrin) ทั้งนี้ สารดังกล่าวนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุ อันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 นอกจากนั้น ยังมีสารไล่หนูที่ผู้ผลิตสายไฟฟ้านิยมใช้กับสายไฟที่เก็บไว้ในโกดัง เพื่อป้องกันการกัดแทะของหนูชั่วคราว ได้แก่ R-55 หรือ terbutyldimethyl trithio-peroxycarbonate และ bio met 12 หรือ tri-n-butyltinchloride

3. การประเมินผลหลังการดำเนินการการป้องกันและกำจัดหนู

โดยการสำรวจร่องรอยหนูและปริมาณหนูอย่างสม่ำเสมอ และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้แสดงผล เปรียบเทียบในเชิงรูปภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการดำเนินการป้องกันกำจัด

4. การสำรวจร่องรอยหนูอย่างสม่ำเสมอ และควรทำการป้องกันและกำจัดหนูอย่างน้อยทุก 3–6 เดือน

 

Visitors: 434,458