การป้องกันกำจัดปลวก

การป้องกันกำจัดปลวก

ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง อาทิเช่น ตามรอย แตกร้าวของพื้นคอนกรีต บันได หรือรอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง และตาม ปล่องท่อสายไฟ การป้องกันและกำจัดปลวกนั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การป้องกันโดยใช้สารเคมี

1.1 การใช้สารป้องกันกำจัดปลวก (termiticides)

เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารเคมีลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อ ทำให้ดินมีสภาพเป็นพิษ ปลวกไม่สามารถเจาะทะลุผ่านได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวกโรยหรือฉีดพ่นให้โดน ตัวปลวกโดยตรง วิธีการใช้สารเคมีนี้ในปัจจุบันพบว่าเป็นวิธีป้องกันกำจัดปลวกที่ได้ผลดีที่สุด สารเคมีกลุ่มต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในประเทศไทย อาทิเช่น

  • กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นต้น
  • กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) อัลฟ่า-ไซเปอร์เมทริน (alpha-cypermethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไบเฟนทริน (bifenthrin) เฟนวาเลอเรต (fenvalerate) และเดลต้าเมทริน (deltamethrin) เป็นต้น
  • กลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicotinyls) ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) ได้แก่ ฟิโพรนิล (fipronil) และกลุ่มไพรอล (pyrroles) ได้แก่ คลอเฟนนาเพอร์ (chlorfenapyr) เป็นต้น

รูปแบบของสูตรผสมที่มีการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดปลวก

สูตรผสมชนิดเข้มข้น ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย

  • EC (emulsifiable concentrates) สารออกฤทธิ์ละลายอยู่ในตัวทำละลาย เมื่อผสมน้ำ สารผสมจะเป็นเนื้อเดียวกันและมีลักษณะสีขาวขุ่น
  • SC (suspension concentrates) สารออกฤทธิ์ไม่ละลายในตัวทำละลาย เมื่อผสมน้ำจะเป็น สารผสมแขวนลอยในสภาพคงที่ ไม่ตกตะกอน
  • SL (soluble concentrates) มีลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมด้วย น้ำส่วนใหญ่จะไม่มีสี
  • SP (soluble powders) มีลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องผสมน้ำ สารออกฤทธิ์จะละลายในน้ำ
  • WP (wettable powders) มีลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำซึ่งจะได้สารละลาย ในรูปของสารแขวนลอย สูตรนี้เหมาะสำหรับใช้ในการอัดสารป้องกันปลวกลงดิน หรือฉีดพ่นบนพื้นดินบริเวณ รอบ ๆ อาคารบ้านเรือน

สูตรผสมชนิดเข้มข้น ใช้สารอินทรีย์(organic solvent) เป็นตัวทำละลาย

  • OL (oil miscible liquids) สารผสมเนื้อเดียวกัน ต้องผสมกับตัวทำละลายอินทรีย์ สูตรนี้ เหมาะที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดเข็มหรือหลอดฉีดยา เพื่ออัดหรือฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปใน โครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย เพื่อช่วยให้มีการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ

สูตรผสมของสารกำจัดปลวกที่ใช้ได้ทันทีไม่ต้องเจือจาง

  • DP (dustable powders) มีลักษณะเป็นผงละเอียด สูตรนี้เหมาะที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ ชนิดลูกยางบีบพ่นผง เพื่อพ่นสารป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปในเส้นทางเดินของปลวก หรือในโครงสร้างส่วนที่ถูก ทำลาย ที่จะเกิดความเสียหายเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น

สูตรผสมของสารกำจัดปลวกสูตรใช้เฉพาะอย่าง

  • AE (aerosol) มีลักษณะบรรจุในภาชนะปิดมิดชิด มีลิ้นบังคับการเปิดปิด เมื่อลิ้นเปิด สารละลายจะถูกปล่อยออกมาเป็นละอองฝอย
  • BA (Bait ready for use) เป็นเหยื่อล่อใช้ดึงดูดแมลงให้เข้ามากัดกิน โดยไม่ต้องผสมอีก
  • Foams เป็นรูปแบบตัวทำละลายซึ่งผสมกับสารป้องกันกำจัดปลวก ใช้ฉีดหรืออัดสารเคมี ลงไปในดินใต้พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำพาสารเคมีให้แทรกซึมกระจาย ได้เร็วและทั่วถึง สามารถแทรกซึมไปตามช่องว่างต่าง ๆ ภายใต้พื้นคอนกรีตได้
  • Granules (GR) มีลักษณะเป็นเกร็ดหรือผลึก ใช้โรยบนดินโดยไม่ต้องผสมน้ำ

 การเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดต่าง ๆ มีข้อพิจารณา ดังนี้

  1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดปลวก ซึ่งได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ และได้ ทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วเท่านั้น
  2. เลือกใช้สารป้องกันกำจัดปลวกในอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการ ป้องกันกำจัดว่าต้องการหวังผลในการป้องกันในระยะสั้นหรือระยะยาว เช่น เลือกใช้ในอัตราความเข้มข้นต่ำสุด ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวก เพื่อช่วยลดปัญหาในด้านฤทธิ์ตกค้างและความเป็นพิษที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีอีกด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ในการกำจัด เฉพาะจุดที่ไม่หวังผลในการป้องกันในระยะยาว
  3. เลือกรูปแบบของสูตรผสมให้เหมาะสมกับลักษณะของการนำไปใช้งาน
  4. เลือกอุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของสารป้องกันกำจัดปลวก เช่น ในการเลือก ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกเพื่อการฉีดพ่น หรืออัดลงในดิน ควรเลือกสูตรผสมชนิดเข้มข้นซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำ ไปฉีด โดยใช้เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลังชนิดใช้แรงลมหรือใช้เครื่องพ่นแรงดันสูง สำหรับในโครงสร้างไม้ ที่ถูกทำลายโดยเฉพาะในบริเวณซอกมุม อาจเลือกใช้สูตรผสมที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย โดยใช้อุปกรณ์ เข็มฉีดยา หรือเครื่องพ่นขนาดเล็ก ฉีดพ่นเข้าไปตามร่อง รอยแตกของโครงสร้างอาคารที่ถูกทำลาย ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องเลือกใช้สูตรผสมชนิดผง โดยใช้ลูกยางบีบพ่นผง หรืออาจเลือกใช้ในรูปของแอโรซอล (aerosol) ซึ่งมีหัวฉีดพ่นเข้าไปภายในโครงสร้างที่ถูกทำลาย

1.2 การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้(wood preservatives)

จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษต่อปลวก ซึ่งอาจเป็นชนิดละลายในน้ำ ชนิด ละลายในน้ำมัน หรือชนิดพร้อมใช้ ลักษณะการใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้อาจเลือกใช้วิธีการทา จุ่ม แช่ หรืออัด ด้วยความดัน สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1.2.1 สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทน้ำมัน เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบเรียกกันโดยทั่วไปว่า ครีโอโสท เป็นสารเหนียว ข้น สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นฉุน มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อรา สลายตัวยาก ถูก ชะล้างและระเหยได้ยาก นิยมใช้ในการอาบน้ำยาไม้ที่ใช้กลางแจ้ง ภายนอกอาคาร เนื่องจากมีกลิ่นและทำให้ เนื้อไม้เปลี่ยนสีเป็นสีดำไม่สวยงาม ทาสีทับไม่ได้

1.2.2 สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในสารทำละลายอินทรีย์ เป็นสารประกอบซึ่งเกิดจากการผสมสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อรา และเติมสาร แทรก (additives) เข้าไป สารที่เคยนิยมใช้กันมากในอดีต คือ เพนตะคลอโรฟีนอล (pentachlorophenol) และลินเดน (lindane) แต่ปัจจุบันสารประกอบทั้งสองชนิดถูกจำกัดการใช้ลงมาก เนื่องจากเป็นสารในกลุ่มที่ เชื่อกันว่าก่อให้เกิดมะเร็งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิด ที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทนี้มักมีราคาแพง เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์ มักมีราคาค่อนข้างแพง จึงได้คิดค้นสูตรขึ้นมาใหม่ให้สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพื่อให้ได้สารป้องกันรักษา เนื้อไม้ที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่า

1.2.3 สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำ สารจำพวกนี้ประกอบด้วยส่วนผสมของเกลือเคมีหลายอย่างผสมกันโดยมีน้ำเป็นตัว ทำละลาย สารประเภทนี้แม้จะละลายในน้ำแต่เมื่ออัดเข้าไปในเซลล์ของไม้แล้วจะเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมี ตัวอื่นซึ่งจะเกาะติดอยู่ภายในไม้ได้ดี ไม่ถูกชะล้างหรือระเหยออกไปจากไม้ง่าย สารที่นิยมใช้กันทั่วไปใน ประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Copper-Chrome-Arsenate (CCA) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และสารหนู และ Copper-Chrome-Boron (CCB) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และโบรอน ซึ่ง ทองแดงจะออกฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดเชื้อรา สารหนูและโบรอนมีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลง ส่วนโครเมี่ยมจะช่วยให้สารอื่น คือ ทองแดง สารหนู โบรอน ติดอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน เกลือเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ เป็นที่นิยมใช้มากในประเทศไทยเช่นกัน คือ สารประกอบของโบรอน เช่น ทิมบอร์ (Timbor) และ บอราแคร์ (Boracare) เป็นต้น

1.3 การควบคุมโดยใช้ระบบเหยื่อปลวก (termite bait system control)

เป็นการควบคุมที่ทำให้ปลวกที่ได้รับวัตถุอันตรายเกิดการตายต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวิธีการรูปแบบ ใหม่ในการป้องกันกำจัดปลวก มีหลักการดังนี้

  • ใช้วัตถุอันตรายที่ออกฤทธิ์ช้า ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ในการขัดขวางกระบวนการเจริญ เติบโตตามธรรมชาติของปลวก ทำให้สามารถลดจำนวนประชากรของปลวกจนถึงระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสีย หาย หรือเกิดการตายต่อเนื่องจนหมดทั้งรัง
  • ใช้วัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน และสามารถคงสภาพอยู่ ภายในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่น ๆ ภายในรังได้

เหยื่อปลวกเปนผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุอันตรายซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของปลวก ส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) เช่น เฮ็กซาฟลูมูรอน (hexaflumuron) ไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron) บิสตริฟลูรอน (bistrifluron) เป็นต้น ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) หรือเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของปลวกและสามารถถ่ายทอดไปยังปลวกตัวอื่น ๆ ได้ เช่น ไดโซเดียม ออกตะบอเรต เตตระ ไฮเดรต (disodium octaborate tetrahydrate; DOT) ในปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณภายนอกอาคาร ในการนำเหยื่อ กำจัดปลวกนี้ไปใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี และมีความชำนาญในการที่จะแก้ไขปัญหาในระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อได้ เนื่องจากในประเทศไทยมี การปลูกสร้างอาคารในลักษณะที่สลับซับซ้อน จึงจำเปนต้องดัดแปลงระบบการวางเหยื่อให้เข้ากับ ็ แต่ละสถานการณ์ เพื่อล่อให้ปลวกเข้ากินเหยื่อให้เร็วที่สุด

จุดสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ควรคำนึงถึงในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก

  1. บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ บริเวณพื้น ใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเป็นเวลานาน ๆ
  2. บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง และท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้
  3. บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนัง หรือพื้นคอนกรีต
  4. บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อน
  5. พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต

1.4 การใช้สารสกัดธรรมชาติจากพืช (plant natural extract)

เช่น สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส ใบเสม็ด ใบหรือเมล็ดสะเดา ใบกระเพรา เป็นต้น

2. การป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมี

เช่น การใช้แผ่นโลหะ โลหะผิวลื่น การใช้เศษหินบด เศษแก้วบด การใช้ไม้ที่มีความทนทานตาม ธรรมชาติ การใช้กับดักแสงไฟ (light trap) ดึงดูดหรือขับไล่แมลงเม่า เพื่อลดปริมาณที่จะผสมพันธุ์และสร้างรัง ปลวกใหม่ การใช้ศัตรูธรรมชาติ (pathogenic agents) เช่น การใช้เชื้อรา แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย เป็นต้น

ขั้นตอนในการจัดการปลวกทำลายอาคารบ้านเรือน แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

1. การจัดการปลวกก่อนและในระหว่างการก่อสร้าง มีขั้นตอนควรปฏิบัติ ดังนี้

1.1 การสำรวจพื้นที่ที่จะปลูกสร้างอาคาร

ควรทำการสำรวจให้ทั่วอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปลวก ซึ่งสังเกตได้ จากรังหรือจอมปลวกบนพื้นดิน บนกิ่งไม้ ต้นไม้ สำหรับปลวกบางชนิดที่อาศัยทำรังอยู่ใต้พื้นดิน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปลวกใต้ดินชนิด C. gestroi ซึ่งเป็นชนิดที่พบเข้าทำลายในอาคารบ้านเรือนและก่อให้เกิดความ เสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทยนั้น สามารถสำรวจพบได้จากทางเดินดินและร่องรอยการ เข้าทำลายในพื้นที่ เช่น ตามท่อนไม้ เศษไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ และรากไม้ที่อยู่บนพื้นดินหรือใต้ดิน เมื่อสำรวจพบว่ามี ปลวกควรทำการกำจัดให้หมดสิ้นก่อนที่จะมีการปลูกสร้างอาคาร

1.2 การออกแบบอาคาร

การออกแบบลักษณะของอาคารบ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้สามารถลดความรุนแรง ในการเข้าทำลายของปลวกได้นั้น ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

1.2.1 ออกแบบอาคารให้มีการยกพื้นให้สูงขึ้นจากระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 18 นิ้ว เพื่อให้มี การระบายอากาศที่ดี สามารถสังเกตเส้นทางเดินของปลวกที่ทำขึ้นสู่โครงสร้างส่วนบนของอาคารได้ชัดเจน ใน กรณีที่สงสัยว่าภายใต้อาคารมีปลวกอาศัยอยู่ สามารถเข้าไปสำรวจและจัดการได้

1.2.2 ออกแบบอาคารให้มีระบบการระบายความชื้นและระบายอากาศที่ดี ทั้งภายในและ ภายนอกตัวอาคาร เช่น หลีกเลี่ยงการออกแบบอาคารในลักษณะที่มีพื้นลาดเอียง หรือมีการถมดินบริเวณ รอบ ๆ อาคารให้สูงกว่าพื้นดินภายใต้อาคารซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการสะสมความชื้นภายใต้อาคาร อีกทั้ง ควรหลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ไว้ใกล้ชิดตัวอาคารซึ่งต้องมีการรดน้ำอยู่เสมอ ๆ อันเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้บริเวณ รอบ ๆ อาคารเป็นแหล่งสะสมความชื้นเป็นปัจจัยที่ชักนำให้ปลวกเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณอาคาร นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็นหลังคาและชายคา ควรมีการวางรางระบายน้ำฝนและป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหลซึมของน้ำตามจุด รอยต่อต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความชื้นสะสมภายในตัวอาคารได้

1.2.3 ออกแบบตัวอาคารให้มีแสงสว่างส่องได้ทั่วถึงและมีการระบายอากาศที่ดี เช่น อาคาร ที่มีการยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดินเล็กน้อย (crawl space) และมีการก่ออิฐปิดไว้โดยรอบเพื่อความสวยงามนั้น ควรออกแบบให้มีช่องระบายอากาศไว้โดยรอบอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะจุดที่มักจะเป็นแหล่งสะสมความชื้นและเป็นจุดอ่อนที่ปลวกชอบเข้าไปอยู่อาศัยและทำลายอยู่เสมอ ๆ เช่น บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม หรือห้องครัว ทั้งนี้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเอื้ออำนวยต่อการเข้าทำลายของปลวกที่รุนแรง

1.2.4 เลือกใช้วัสดุในการปลูกสร้างที่มีความคงทนต่อปลวก โดยเฉพาะในบริเวณฐานรากของ อาคาร เช่น เสาหรือคานคอดิน รวมถึงส่วนของโครงสร้างอาคารที่ติดต่อกับพื้นดินโดยตรง เช่น บันได วงกบ ประตู หรือผนังอาคารบริเวณส่วนล่าง ควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่เป็นคอนกรีต หรือวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่ง ปัจจุบันมีการผลิตขึ้นมาจำหน่ายทดแทนไม้ในท้องตลาด สำหรับโครงสร้างส่วนบนของอาคาร ซึ่งจำเป็นต้องมี การใช้ไม้มาตบแต่งอาคารนั้น ควรพิจารณาเลือกใช้ไม้ที่มีความทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้ตำเสา หรือไม้หลุมพอ เป็นต้น หรือเลือกใช้ไม้ที่ผ่านกรรมวิธีในการป้องกันรักษา เนื้อไม้ เช่น พ่น ทา จุ่ม แช่ หรืออัดโดยใช้แรงดันเพื่อให้สารเคมีซึมเข้าไปในเนื้อไม้

1.3 การวางแนวป้องกันปลวกใต้ดินที่จะขึ้นมาจากพื้นดินเข้าสู่ตัวอาคาร

1.3.1 การวางแนวป้องกันโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก (termiticide barrier) เป็นวิธีการทำให้พื้นดินภายใต้อาคาร และบริเวณรอบ ๆ อาคารเปนพิษ ็ ปลวกไม่สามารถ เจาะทะลุผ่านได้ ในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดินให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ สำหรับอาคารพื้นติดดิน

  • ถมดินและปรับระดับพื้นดินใต้อาคารให้ได้ระดับที่ต้องการ เก็บเศษไม้ หรือเศษวัสดุที่จะ เป็นแหล่งอาหารของปลวกออกให้หมด
  • ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกฉีดพ่น หรือราดลงบนพื้นผิวภายใต้ตัวอาคารให้ทั่ว ในอัตราสาร เคมีผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดในปริมาณ 5 ลิตร ต่อทุก ๆ 1 ตารางเมตร สำหรับบริเวณแนวคานคอดิน ให้ ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงใช้สาร ป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัตราสารป้องกันกำจัดปลวกที่ ผสมแล้ว 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร
  • ฉีดพ่นหรือราดด้วยสารป้องกันกำจัดปลวกซ้ำอีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือ ถมทราย แล้วอัดพื้นให้แน่น ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต
  • บริเวณรอบ ๆ อาคาร ควรฉีดหรือพ่นสารป้องกันกำจัดปลวกให้เป็นแนวป้องกันรอบนอก อาคารอีกครั้ง โดยใช้สารป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมแล้วในอัตรา 5 ลิตร ต่อทุกระยะ 1 ตารางเมตร โดยรอบ อาคาร

สำหรับอาคารใต้ถุนสูง

ให้ขุดดินตรงบริเวณรอบ ๆ โคนเสา ตอม่อ หรือรอบ ๆ ท่อต่าง ๆ ที่ติดต่อระหว่างอาคารกับพื้น ดินทุกแห่งให้เปนร่องโดยรอบ โดยให้มีขนาดความกว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร เทสารปองกันกำจัด ปลวกลงไปในร่องในอัตรา 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร หากใต้ถุนบางส่วนมีการเทพื้นคอนกรีต หรือ ก่ออิฐถือปูน เช่น มีครัวที่ติดกับพื้นดิน พื้นซักล้าง และที่ฐานรองรับบันไดบ้าน ควรจะต้องใช้สารปองกันกำจัด ปลวกเทราดให้ทั่วพื้นผิวดินก่อนที่จะเทคอนกรีต จะสามารถปองกันปลวกขึ้นอาคารบ้านเรือนได้เปนอย่างดี

1.3.2 การวางแนวป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมี หรือโดยการใช้วิธีกล (physical barrier)

การใช้วัสดุหินบด วัสดุเศษแก้วบด หรือวัสดุธรรมชาติชนิดอื่น ๆ เป็นวัสดุปูรองพื้นอาคาร ก่อนเทพื้นคอนกรีต ปูรองก้นหลุม หรือปูไว้โดยรอบเสา หรือบริเวณส่วนของอาคารที่เชื่อมติดกับพื้นดิน เพื่อ เป็นแนวทางป้องกันปลวกที่จะเจาะทะลุผ่านขึ้นมาจากพื้นดิน โดยลักษณะและคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ที่นำมาใช้นั้นจะต้องมีหลักการ ดังต่อไปนี้

  • ขนาดของวัสดุที่จะนำมาใช้ จะต้องมีความสม่ำเสมอพอดี เมื่อนำมาปูหรืออัดรวมกันให้เป็น ชั้นแล้วจะต้องมีการเรียงตัวที่ชิดกันพอดีที่จะไม่ทำให้เกิดช่องว่างในระหว่างชั้นของวัสดุจนปลวกสามารถเดิน ทะลุผ่านขึ้นไปได้
  • น้ำหนักของวัสดุ จะต้องมีน้ำหนักที่มากพอที่ปลวกจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกไปได้
  • ความแข็งของวัสดุ จะต้องมีความแข็งมากพอที่ปลวกจะไม่สามารถกัดให้แตกย่อยเป็นขนาด ที่เล็กลงไปได้อีก

สำหรับขนาดของวัสดุหินบดที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ปูพื้นเพื่อใช้เปนแนวป ็ ้องกันเส้นทางเดิน ของปลวกใต้ดินชนิด C. gestroi ซึ่งเป็นชนิดที่เข้าทำลายไม้ภายในอาคารบ้านเรือนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มากที่สุดนั้น ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดหินระหว่าง 1.7-2.4 มิลลิเมตร (ยุพาพร และจารุณี, 2536; ขวัญชัย และคณะ, 2542) จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า หินแกรนิตบดสามารถใช้ป้องกันการเข้าทำลายของ ปลวกใต้ดินได้ประมาณ 4 ปี หลังจากนั้นวัสดุหินจะเริ่มสึกกร่อนและเปลี่ยนแปลงสภาพและขนาดรูปร่างไป ใน ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการนำวัสดุหินบดนี้มาใช้ในการป้องกันปลวก โดยมีจำหน่ายในชื่อการค้าว่า แกรนิต การ์ด (Granit guard) (French, 1989; French และ Ahmad, 1993; French และคณะ, 1993) ซึ่งเป็นวัสดุ หินแกรนิตบดที่มีความแข็งมากกว่าวัสดุหินบดที่ได้นำมาทดลองใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นหินปูนและหินแกรนิต ที่มีแหล่งมาจากจังหวัดสระบุรี ดังนั้น ในการคัดเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้จึงควรเลือกใช้วัสดุชนิดที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อที่จะสามารถป้องกันปลวกได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานยิ่งขึ้น

การทำร่องซีเมนต์ไว้โดยรอบบริเวณโคนเสา แล้วหล่อด้วยน้ำหรือสารละลายที่เป็นน้ำมัน ใน อาคารที่มีลักษณะใต้ถุนสูงหรืออาคารที่ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ให้ทำร่องซีเมนต์ให้มีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ปลวกเดินผ่านเข้าไปในอาคารได้ วิธีการนี้เหมาะสม ที่จะนำไปใช้ป้องกันปลวกในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในชนบท หรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่ต้องการความสวยงาม และต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย หรืออาจจะพิจารณานำไปใช้ในกรณีของอาคารที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำและไม่ ต้องการให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีไปสู่แหล่งน้ำ ในการป้องกันโดยวิธีนี้จำเป็นต้องหมั่นคอยเติมน้ำหรือ น้ำมันอยู่เสมอ

การใช้กระบังโลหะผิวเรียบ (termite shield) โดยการนำแผ่นโลหะผิวเรียบที่เป็นสนิมยาก เช่น แผ่นอลูมิเนียม หรือสแตนเลส มาทำเป็นขอบหรือกระบังป้องกันเส้นทางเดินของปลวกที่จะทำขึ้นมาตาม เสา หรือท่อน้ำต่าง ๆ ที่มีส่วนที่ติดต่อกับพื้นดิน แผ่นโลหะที่ห่อหุ้มรอบเสานี้ควรมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และทำมุมเอียงลง 45 องศา กับแนวของเสาหรือท่อน้ำ โดยวางตำแหน่งของกระบังโลหะให้อยู่ใน ระดับที่สูงจากพื้นดินพอประมาณ เพื่อให้สามารถง่ายต่อการสังเกต เพื่อกำจัดหรือทำลายเส้นทางเดินของ ปลวกได้ทันก่อนที่จะเข้าไปสู่ส่วนบนของอาคาร วิธีการนี้มีข้อจำกัด คือ แนวป้องกันโลหะจะไม่สามารถป้องกัน ปลวกได้ในกรณีที่เสานั้นมีรอยแตก หรือมีต้นไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ มาพาดพิงหรือต่อเชื่อมระหว่างพื้นดินและ ตัวอาคาร

การใช้แผ่นตะแกรงสแตนเลส (stainless steel mesh) โดยการนำแผ่นตะแกรงที่มีขนาด ของรูตะแกรงเล็กมากจนปลวกไม่สามารถเดินลอดผ่านขึ้นไปได้ มาปูรองพื้นอาคารในส่วนที่ติดกับพื้นดิน ทั้งหมด สำหรับท่อน้ำทิ้ง กล่องสายไฟ หรือส่วนต่อของรางน้ำลงดินต้องหุ้มด้วยตะแกรงโลหะโดยรอบใน ส่วนที่ติดดินด้วย ในประเทศออสเตรเลียมีแผ่นตะแกรงสแตนเลสจำหน่ายในชื่อการค้าว่า เทอร์มิ-เมส (Termi-mesh) (Lenz และ Runko, 1994) สำหรับประเทศไทยยังไม่มีตัวแทนจำหน่าย จำเป็นต้องติดต่อ ให้ผู้ชำนาญการมาวางแนวป้องกันจากต่างประเทศ

2. การจัดการปลวกในอาคารที่ปลูกสร้างแล้ว

ขั้นตอนนี้ค่อนข้างยุ่งยากในทางปฏิบัติมากกว่าการป้องกันในระยะก่อนการปลูกสร้างมาก จำเป็น ต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน และวางแผนถึงกรรมวิธีและแนวทางใน การจัดการในแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การป้องกันกำจัดในระยะหลังการปลูกสร้าง นี้จะหวังผลเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะอาคารมักจะมีความซับซ้อนมาก ทำให้มีจุดที่ ปลวกอาจหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่เราสำรวจไม่พบ นอกจากนี้ โครงสร้างของ อาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดในจุดนั้น ๆ ได้ เพื่อให้การจัดการ เกี่ยวกับปลวกในอาคารที่ปลูกสร้างแล้วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

2.1 การสำรวจและตรวจสอบอาคาร

ทำการสำรวจหาจุดที่ปลวกเข้าทำลายอย่างถี่ถ้วน ทั้งภายในอาคารและบริเวณรอบ ๆ อาคาร จดบันทึกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการเก็บตัวอย่างแมลงศัตรูที่พบเพื่อนำไปจำแนกตัวอย่างให้ทราบถึง ชนิดของศัตรูที่เข้าทำลายว่าเป็นชนิดใด เช่น ปลวกไม้แห้ง มอด หรือปลวกใต้ดิน และมีการเข้าทำลาย ในโครงสร้างใดบ้าง มีลักษณะความรุนแรงในการเข้าทำลายมากน้อยเพียงใด ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่ง ในการวางแผนและแนวทางในการจัดการปลวกให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

จุดสำคัญ ๆ ของอาคารที่ควรทำการสำรวจ

จุดที่เป็นแหล่งอาหารของปลวก เช่น โครงสร้างไม้ภายในอาคารต่าง ๆ เสา คาน พื้นไม้ ขอบบัวของ พื้น วงกบประตูและหน้าต่าง ฝาผนัง ไม้คร่าวต่าง ๆ เป็นต้น โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณฐานราก ซึ่งจะ เป็นจุดที่ติดต่อกับพื้นดินโดยตรงและง่ายต่อการเข้าทำลายของปลวก นอกจากนี้ วัสดุอื่น ๆ ที่ทำมาจากไม้ เช่น เครื่องเรือนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตบแต่งภายในบริเวณอาคารบ้านเรือนและภายนอกอาคารในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงต้นไม้ ตอไม้ เศษไม้ ท่อนไม้ หรือกองไม้ต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ อาคาร ล้วนเปนแหล่งอ ็ าหารของ ปลวกแทบทั้งสิ้น

โครงสร้างต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเข้าทำลายและการเข้ามา อยู่อาศัยของปลวก เช่น

  • บริเวณจุดที่เกิดรอยแตกร้าว โดยเฉพาะบริเวณฐานรากของอาคารที่ติดกับพื้นดิน เช่น แนว คานคอดิน เสา พื้นคอนกรีต ฐานบันได ฝาผนัง และบริเวณมุมห้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ในบริเวณที่มักจะเป็น แหล่งสะสมความชื้น หรือมีลักษณะเป็นที่เงียบและมืดนั้น ควรต้องทำการสำรวจและตรวจสอบให้ละเอียด ถี่ถ้วน
  • บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง ท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักก่อผนังปิดหุ้มไว้ เป็นจุดที่ปลวกมักจะทำทางเดิน ขึ้นสู่ตัวอาคาร นอกจากนี้ โครงสร้างของอาคารที่มีลักษณะเป็นฝาสองชั้น ส่วนใหญ่มักจะใช้ไม้เนื้ออ่อนมาทำ เป็นคร่าวอยู่ภายใน เป็นจุดที่มักจะพบปลวกเข้าไปอาศัยและกินเนื้อไม้ ในบางครั้งอาจพบปลวกมาสร้างรัง สำรองอยู่ภายในช่องว่างระหว่างฝาสองชั้น
  • บริเวณห้องน้ำ ห้องครัว เป็นจุดที่มักมีการสะสมความชื้นอยู่เสมอ ประกอบกับมีท่อน้ำ ก๊อก น้ำ หรือโครงสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในลักษณะที่ปลวกจะสามารถใช้เปนเส้นทางเชื่อมต่อจากพื้นดินขึ้นมาสู่ตัวอาคารได้
  • บริเวณห้องเก็บของ ใต้บันได ตู้เก็บหนังสือหรือตู้เก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีสภาพที่มืด เงียบ และอับชื้น มีการระบายอากาศน้อย หรือมีข้าวของที่ถูกเก็บทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีการเคลื่อนย้าย มักเป็นจุดอ่อนที่พบปลวกเข้ามาทำลายอยู่เสมอ
  • บริเวณแนวคานและแนวท่อต่าง ๆ ที่อยู่บนฝ้าเพดาน หรือบริเวณด้านใต้หรือด้านหลังของ เครื่องปรับอากาศที่มีการรั่วซึมของน้ำจากเครื่องปรับอากาศ เป็นจุดที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูง เป็นสภาวะที่ ปลวกชอบใช้เป็นแหล่งสำหรับสร้างรังสำรอง
  • บริเวณเชิงชายของหลังคา หรือคร่าวฝ้าเพดาน เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรทำการสำรวจ เนื่องจาก เป็นจุดที่มักมีการรั่วซึมของน้ำฝนจากหลังคามาสะสมไว้ในอาคาร และทำให้เกิดสภาพที่จะชักนำให้ปลวกเข้ามา ทำลายไดิ

วิธีการสำรวจและตรวจหาปลวกที่เข้าทำลายภายในอาคาร

  • สำรวจจากเส้นทางเดินที่ปลวกจะเข้าสู่ตัวอาคาร โดยสังเกตจากท่อทางเดินดินที่ปลวกสร้าง ขึ้นมาตามรอยแตกร้าวของโครงสร้างอาคาร บริเวณฐานราก เช่น เสา คาน ผนัง วงกบประตู หน้าต่าง ตามแนว คานบนฝ้าเพดาน หรือตามท่อระบายน้ำ เป็นต้น อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ไฟฉาย เพื่อช่วยส่องแสง ในบริเวณที่เป็นมุมมืด ให้สามารถสังเกตเห็นเส้นทางเดินของปลวกและการเข้าทำลายได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ในการสำรวจหาปลวกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเคลื่อนย้ายข้าวของต่าง ๆ ออกจากบริเวณตำแหน่งเดิมที่เคยวางทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน โดยการเคลื่อนย้ายให้ห่างจากฝาผนังหรือมุมห้อง เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นการเข้า ทำลายของปลวกได้อย่างทั่วถึง
  • สำรวจจากโครงสร้างไม้หรือวัสดุต่าง ๆ ที่มีร่องรอยการเข้าทำลายของปลวก ในการสำรวจ อาจเลือกใช้อุปกรณ์แบบง่าย ๆ ทั่วไป เช่น มีดปลายแหลม ไขควง หรือเหล็กแหลม เพื่อทิ่มแทงหรือเคาะไปตาม แนวโครงสร้างไม้ เช่น คร่าวฝา คร่าวเพดาน เสา พื้นหรือผนังในระหว่างคร่าวฝานั้น ๆ เพื่อค้นหาจุดที่มีปลวก อาศัยอยู่ หรือบริเวณที่มีการเข้าทำลาย ผู้มีประสบการณ์ในการสำรวจจะสามารถบอกความแตกต่างของ ลักษณะเสียงที่เคาะไปตามโครงสร้างไม้ที่สำรวจได้ และสามารถสันนิษฐานได้ว่าบริเวณนั้น ๆ ได้ถูกปลวกเข้า ทำลายไปแล้วหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรืออาจมีปลวกเข้าไปสร้างรังสำรองอยู่ตามช่องว่างในระหว่างฝาสอง ชั้น ซึ่งจำเป็นต้องรื้อโครงสร้างนั้นเพื่อกำจัดปลวกออกไป สำหรับโครงสร้างไม้เหล่านั้นหากถูกปลวกเข้าทำลาย เมื่อใช้มีดหรือเหล็กแหลมทิ่มแทงเข้าไปที่ผิวไม้ก็จะสามารถแทงทะลุเข้าไปภายในได้โดยง่าย เพราะเนื้อไม้ถูก ปลวกทำลายจนเหลือแต่ผิวไม้บาง ๆ หุ้มอยู่ ส่วนภายในจะพบโครงสร้างที่เป็นดิน มีรูระบายอากาศคล้าย ฟองน้ำ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับตรวจหาปลวกที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น อินเซ็กต้า-สโคป ดีเทกเตอร์ (Insecta-Scope Detector) หรือ เทอร์มิแทรป (Termitrap) โดยใช้หลักการที่ คล้ายกับการทำงานของเรดาร์ เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของปลวกในผนังปูน ผนังไม้ ช่องว่างในอิฐก่อ หรือตู้ประกอบติดผนัง (built-in) ทำให้สามารถพบปลวกได้โดยไม่ต้องเจาะผนังให้เกิดความเสียหาย แต่ในการ ใช้อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีการอบรมเพิ่มทักษะและความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการได้รับคำแนะนำในการ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากผู้ชำนาญการ

2.2 การวางแผนและแนวทางในการป้องกันและกำจัดปลวก

เมื่อได้ทำการสำรวจและตรวจสอบอาคารอย่างละเอียด ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ตลอด จนความรุนแรง หรือจุดต่าง ๆ ที่เกิดปัญหา การพิจารณาวางแผนและแนวทางในการจัดการปลวกให้เหมาะสม ต่อไป อาจแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้

2.2.1 การป้องกันและกำจัดปลวกเฉพาะจุด ในอาคารบ้านเรือนที่สำรวจหากพบมีการเข้าทำลายของปลวกอย่างรุนแรง จำเป็น อย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำจัดเฉพาะจุดนั้น ๆ เสียก่อน เพื่อลดความเสียหายและความรุนแรงในการเข้า ทำลายลงไปในระดับหนึ่งก่อน โดยในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการกำจัดที่สามารถจะลดจำนวน ประชากรปลวกลงให้มากและเร็วที่สุด ซึ่งอาจดำเนินการโดยใช้วิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ขนย้ายชิ้นส่วนหรือวัสดุต่าง ๆ เช่น กล่อง ลังเก็บหนังสือ หรือโครงสร้างของไม้ที่พบ ว่ามีปลวกทำลายรุนแรงออกไปกำจัด โดยอาจใช้วิธีการเผา ใช้น้ำร้อนราด หรือเคาะตัวปลวกทิ้ง เป็นต้น หรือ อาจเลือกใช้สารป้องกันกำจัดปลวกฉีดพ่นให้ทั่ว ในการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดปลวกนั้น ควรพิจารณาเลือกใช้ สารป้องกันกำจัดปลวกชนิดที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น มีพิษต่ำ โดยควรใช้ในอัตราความเข้มข้นที่ต่ำสุดที่สามารถกำจัด ปลวกได้ ทั้งนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยลดอันตรายจากพิษของสารเคมีที่อาจเกิดต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม หรือเลือกใช้สารสกัดจากพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการกำจัด เช่น สารสกัดจากใบหรือเมล็ดสะเดา สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส หรือใบเสม็ด เป็นต้น
  • กำจัดเส้นทางเดินดินของปลวกที่ทำเข้าสู่โครงสร้างของอาคาร โดยการเขี่ยเอา เส้นทางเดินของปลวกออก ปลวกจะไม่สามารถลุกลามขึ้นไปก่อความเสียหายในส่วนอื่น ๆ ของอาคาร ซึ่งผู้ตรวจสอบและผู้อยู่อาศัยเองจะต้องคอยสำรวจตรวจตราในบริเวณอาคารบ้านเรือนอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะใน จุดที่ติดต่อกับพื้นดินหรือจุดที่มักจะมีสภาพแวดล้อมที่ปลวกชอบ เช่น ในสภาพที่เงียบ มืด และอับชื้น เป็นต้น
  • การวางเหยื่ออาหารล่อปลวกไว้ภายในหรือภายนอกอาคาร วิธีการนี้สามารถใช้ ในการล่อปลวกจำนวนมากซึ่งเราไม่สามารถสำรวจพบได้ ให้เข้ามากินอาหารที่นำมาล่อไว้ ซึ่งเหยื่ออาหารที่นำ มาล่ออาจเป็นไม้หรือกระดาษก็ได้ จากนั้นนำไปกำจัดต่อไป จะสามารถลดจำนวนปลวกในพื้นที่นั้น ๆ ให้ น้อยลงได้ ซึ่งสามารถช่วยลดระดับความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวก ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดความเสียหายได้

วิธีการวางเหยื่ออาหารล่อปลวก มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  1. สำรวจหาเส้นทางเดินใต้ดินของปลวกชนิดที่เข้าทำลายในอาคารบ้านเรือน (C. gestroi) โดยการนำชิ้นไม้ยางพารา ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร ตัดส่วนปลายให้แหลมเพื่อง่ายต่อการนำไปฝังลงในดิน ฝังชิ้นไม้ลงไปในดินรอบ ๆ อาคาร เป็นระยะห่างกัน ประมาณ 1-1.5 เมตร ทิ้งไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นตรวจดูว่ามีปลวกเข้าทำลายตรงจุดไหน บ้าง โดยถอนชิ้นไม้ที่ปักไว้ขึ้นมาตรวจสอบ ในแต่ละจุดที่พบการเข้าทำลายของปลวกในไม้จะทำให้ทราบถึงเส้น ทางเดินใต้ดินของปลวก ทำการขุดหลุมในตำแหน่งที่พบปลวก ให้มีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมประมาณ 50-90 เซนติเมตร หรือให้มีขนาดพอที่จะฝังท่อปูนซีเมนต์ ท่อพีวีซี หรือถังพลาสติกที่มีลักษณะเปิดหัวเปิดท้ายลงไปได้ จากนั้นตัดไม้ยางพาราจัดเรียงลงในกล่องกระดาษลูกฟูก ให้เต็มกล่อง โดยพยายามจัดเรียงชิ้นไม้ให้พื้นผิวด้านกว้างชิดติดกันสนิท ให้ความชื้นโดยการรดน้ำให้ชุ่มชิ้นไม้ นำไปวางไว้ภายในบ่อหรือท่อที่ทำไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน ปลวกจะเข้ามากินชิ้น ไม้ยางพาราที่เป็นเหยื่อล่อภายในกล่องกระดาษ
  2. กำจัดและเปลี่ยนเหยื่อล่อ ปลวกที่เข้ามาอยู่กินภายในกล่องสามารถนำออกไป กำจัด จากนั้นจึงนำกล่องเหยื่อไม้ยางพาราใหม่กลับเข้ามาวางไว้แทนที่จุดเดิม ทำการดักปลวกเป็นระยะ ๆ ไป เรื่อย ๆ ประมาณ 4-6 ครั้ง จะพบว่าปลวกเริ่มลดปริมาณลงไปจนไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ รุนแรงได้ เทคนิคในการดักเก็บปลวกโดยวิธีนี้สามารถนำไปเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันกับวิธีการใช้สาร ออกฤทธิ์ช้าชนิดอื่น ๆ หรือสารสกัดธรรมชาติที่มีลักษณะของการออกฤทธิ์เป็นประเภทสารยับยั้งการเจริญ เติบโตได้ และสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ร่วมกันกับการควบคุมหรือกำจัดปลวกโดยชีววิธีในอนาคตได้อีกด้วย เช่น การใช้ไส้เดือนฝอย หรือจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการศึกษา ทดลองภายในห้องปฏิบัติการ
  • การใช้แสงไฟช่วยในการดึงดูดหรือขับไล่แมลงเม่า ปลวกในวรรณะนี้จะพบในฤดู ผสมพันธุ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของปลวก โดยแมลงเม่าจะบินออกมาจากรังเพื่อออกไป หาคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะบินมาเล่นไฟในช่วงเวลาพลบค่ำ บางครั้งอาจพบแมลงเม่าบินออกมาจากรัง ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ของปลวก การจัดการปลวกในระยะนี้จะสามารถช่วยลดปริมาณแมลงเม่าที่จะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ภายในบริเวณ อาคารได้ การดำเนินการอาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น การปดไฟภายในบ้านในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แล้วเป ิ ดไฟ ิ บริเวณ ด้านนอกของอาคารแทน เพื่อที่จะดึงดูดให้แมลงเม่าออกไปเล่นไฟอยู่เฉพาะภายนอกอาคาร และจัดตั้งภาชนะ ปากกว้างใส่น้ำทิ้งไว้เพื่อดักแมลงเม่า จากนั้นจึงนำไปกำจัดหรือนำไปใช้เปนอาหารของคนหรือสัตว์ได้ นอก ็ จากนี้ การใช้หลอดไฟที่ห่อหุ้มด้วยพลาสติกชนิดเคลือบสารพิเศษ ซึ่งจะเรืองแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) เพื่อขับไล่แมลง บินชนิดต่าง ๆ ในบริเวณรอบ ๆ อาคาร ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาผสมพันธุ์และสร้าง รังอยู่ภายในบริเวณอาคารได้
  • การดูแลสถานที่และการจัดวางเครื่องเรือนเครื่องใช้ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อช่วยลดความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวก ควรหลีกเลี่ยงการวางข้าวของในลักษณะที่สัมผัสติดกับพื้น ดินหรือพื้นอาคารโดยตรง ควรทำขาหรือชั้นวาง โดยยกระดับขึ้นให้เหนือจากพื้นดินหรือพื้นอาคารไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร หลีกเลี่ยงการวางข้าวของให้ชิดมุมหรือติดผนัง โดยควรให้อยู่ห่างจากมุมห้องหรือฝาผนังออกมา เป็นระยะไม่น้อยกว่า 5-10 เซนติเมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี และสามารถตรวจดูเส้นทางเดินของ ปลวกได้ชัดเจน ควรเคลื่อนย้าย เปลี่ยนตำแหน่งในการจัดเก็บเครื่องเรือนเครื่องใช้อยู่เสมอ ๆ ซึ่งจะเป็นการ รบกวนปลวก เนื่องจากปลวกมักจะชอบอยู่อาศัยอยู่ในที่เงียบสงบและไม่มีการรบกวน
  • หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ในลักษณะที่ชิดหรือติดกับตัวอาคาร เนื่องจากกิ่งก้านของ ต้นไม้อาจจะเป็นทางเชื่อมต่อเส้นทางเดินของปลวกให้เข้าสู่ตัวอาคารได้ และในบริเวณรอบ ๆ อาคารที่ปลูก ต้นไม้ซึ่งต้องมีการรดน้ำอยู่เสมอจะทำให้พื้นดินบริเวณนี้กลายเป็นแหล่งสะสมความชื้น เปนป็ จจัยที่ชักนำ ั ปลวก ให้เข้ามาอาศัยและทำลายได้มากขึ้น
Visitors: 434,782