อาการเกิดพิษของวัตถุอันตรายกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน

กลุ่มออร์กาโนคลอรีน เช่น

1. ลินเดน (lindane)

2. อัลดริน (aldrin)

3. คลอร์เดน (chlordane)

4. ดีลดริน (dieldrin)

5. บีเอชซี (BHC)

6. เฮพตาคลอร์ (heptachlor)

อาการเกิดพิษ

1. เมื่อได้รับสารกลุ่มนี้เข้าไปจะกระตุ้นระบบประสาท อย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง กล้ามเนื้อขาดการประสานงาน ทำให้ มีอาการสั่น ถ้าอาการรุนแรงอาจชักได้

2. ในรายที่มีอาการรุนแรงจะหมดสติ

เมื่อมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายเกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้

1. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ได้แก่ ชื่อผู้ป่วย ปริมาณที่ได้รับ วิธีที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น การดื่มสุรา หรือประวัติการรับประทานยา เป็นต้น 

2. ค้นหาภาชนะบรรจุ ฉลาก และอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดพ่นวัตถุอันตราย ร่องรอยที่หกรดบนพื้นหรือเสื้อผ้า และการชำรุดของเครื่องมือที่ใช้

3. ดมกลิ่น สังเกตดูว่ามีกลิ่นผิดปกติหรือไม่ การปฏิบัติดังกล่าวนี้ จะช่วยให้ทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้ป่วย สาเหตุ และที่มาของการเกิด อุบัติเหตุ ชนิดของสารที่ทำให้เกิดพิษ และบริเวณที่ได้รับพิษ ซึ่งจะช่วยให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยดียิ่งขึ้น

การปฐมพยาบาล

กรณีที่สัมผัสถูกผิวหนัง

  • ควรจัดเตรียมน้ำในปริมาณที่เพียงพอไว้ในบริเวณที่สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นอาจ สัมผัสถูกผิวหนัง
  • ให้ถอดเสื้อผ้าที่ถูกสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นออกทันที
  • ล้างบริเวณผิวหนังและเส้นผมที่สัมผัสถูกสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น ด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงการขัดถูอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้สารถูกดูดซึมมากขึ้น
  • ค่อย ๆ เช็ดบริเวณที่สัมผัสสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นให้แห้ง และอาจห่อด้วยผ้าอย่าง หลวม ๆ
  • หากจำเป็น หากผิวหนังเกิดอาการไหม้ ให้ห่อด้วยผ้าสะอาดอย่างหลวม ๆ หลีกเลี่ยงการทาขี้ผึ้ง ครีมเหนียว แป้ง หรือยาอื่นใด ยกเว้นกรณีที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ให้ทิ้งเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนถูกสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น โดยใส่ถุงพลาสติกแล้วแยกทิ้งใน ถังขยะอันตราย หรือหากจะนำไปซักให้แยกซักจากเสื้อผ้าปกติ

กรณีเข้าตา

เนื่องจากสารที่เข้าตาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว จึงต้องรีบปฏิบัติดังนี้

  • ดึงหนังตาแล้วรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด ห้ามใช้สารเคมีหรือยาอื่น ยกเว้นกรณีที่ได้รับคำแนะนำ จากแพทย์
  • การล้างตา ให้ล้างผ่านตาไม่ใช่ล้างน้ำตรงเข้าไปในตา
  • ล้างตาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน 15 นาที และหากเป็นที่ตาข้างเดียว ต้องระวังไม่ให้ถูกตา อีกข้างหนึ่ง
  • ปิดตาด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที • • • •

กรณีสูดดม

  • ให้รีบนำผู้ป่วยไปยังบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก (ไม่ควรให้ผู้ป่วยเดินเอง)
  • อย่าพยายามเข้าไปช่วยผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัว
  • หากมีคนอยู่ในบริเวณนั้น ให้รีบแจ้งเตือนให้ออกจากบริเวณดังกล่าว
  • ให้ผู้ป่วยนอนลง และคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม
  • ทำให้ผู้ป่วยอบอุ่นและสงบ ระวังมิให้ผู้ป่วยหนาวหรือร้อนเกินไป
  • หากผู้ป่วยมีอาการชัก ให้ระวังไม่ให้ศีรษะของผู้ป่วยชนสิ่งใด และสังเกตดูการหายใจของผู้ป่วย
  • จับให้ผู้ป่วยเงยหน้าเพื่อให้ช่องคอเปิด และหายใจสะดวก
  • หากผู้ป่วยไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ให้ทำการช่วยหายใจ

กรณีเข้าปาก

  • หากได้รับสารเคมีปองกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นเข้าทางปาก หากยังไม่กลืนเข้าไปให้รีบล้างบ้วนปาก ด้วยน้ำจำนวนมาก จากนั้นให้ดื่มนมหรือน้ำจำนวนมาก
  • หากกลืนกินเข้าไปแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ควรจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนหรือไม่ ซึ่งการทำให้ อาเจียนจะทำได้เฉพาะกรณีที่ฉลากแนะนำไว้เท่านั้น เนื่องจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ อื่นบางชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายจากการทำให้อาเจียนมากกว่าการที่ปล่อยทิ้งไว้เสียอีก

ห้ามทำให้อาเจียนในกรณีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยหมดสติ หรือมีอาการชัก
  • สารที่กินเป็นสารกัดกร่อน เช่น กรด หรือด่าง เนื่องจากการอาเจียนจะทำให้สารย้อนกลับขึ้น มาทำลายเนื้อเยื่อที่คอและปากอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังอาจสำลักสารเข้าสู่ปอดทำให้เกิดการ ไหม้และทำลายเนื้อเยื่อปอดได้
  • สารที่กินเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท EC (emulsifiable concentrates) หรือ OL (oil miscible liquids) ซึ่งมีส่วนผสมของตัวทำละลายประเภทปิโตรเลียม ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้หากสำลัก เข้าสู่ปอดในขณะที่ทำให้อาเจียน
Visitors: 433,200