English
Chinese
Japanese

ด้วงขาโต (Tamarind Seed Beetle) | ศัตรูร้ายในเมล็ดมะขาม พร้อมแนวทางป้องกันและกำจัดครบวงจร

ด้วงขาโต (Tamarind Seed Beetle)

แมลงศัตรูร้ายในเมล็ดมะขามและพืชตระกูลถั่วแห้ง

ด้วงขาโต หรือ Tamarind Seed Beetle (Caryedon serratus) เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Bruchidae ที่สร้างความเสียหายโดยตรงต่อเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะ เมล็ดมะขามหวาน–เปรี้ยว และถั่วลิสง ทั้งในระยะก่อนเก็บเกี่ยวและระหว่างการเก็บรักษา ตัวอ่อนของด้วงขาโตเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเมล็ดจากภายใน ส่งผลต่อคุณภาพและมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรอย่างชัดเจน

ข้อมูลพื้นฐาน

  • ชื่อสามัญ: Tamarind Seed Beetle
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryedon serratus (Olivier)
  • วงศ์: Bruchidae
  • อันดับ: Coleoptera

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ขนาดลำตัว: 5.0 – 8.0 มิลลิเมตร
หนวด: แบบกึ่งฟันเลื่อย (subserrate)
ปีก:
  • ปีกคู่หน้าแข็ง (elytra) มีขนปกคลุม
  • ปีกคู่หลังบางใส (membrane)
ปาก: แบบกัดกิน (chewing type)
ขา: เด่นชัดตรงขาคู่ที่ 3 (ขาหลัง) โดย ปล้อง femur ขนาดใหญ่ มีขอบด้านในเป็นฟันเลื่อย และ tibia โค้งงอ— เป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้แยกจำแนกจากด้วงชนิดอื่นได้ง่าย

วงจรชีวิตของด้วงขาโต

ด้วงขาโตเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete Metamorphosis) ผ่าน 4 ระยะ ได้แก่:

ไข่ (Egg):
  • วางไข่เดี่ยวบนผิวเมล็ดพืช
  • ใช้เวลาในการฟัก 5–6 วัน
ตัวอ่อน (Larva):
  • ใช้เวลา 21 วัน
  • เจาะเมล็ดลงไปกัดกินภายใน
ดักแด้ (Pupa):
  • ใช้เวลา 20–25 วัน
  • หนอนเจาะออกจากเมล็ดเพื่อเข้าดักแด้ภายนอก พร้อมสร้างปลอกดักแด้ (cocoon)
ตัวเต็มวัย (Adult):
  • อายุเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน
  • วงจรชีวิตรวมใช้เวลา 47–68 วัน

พืชอาหารและลักษณะการทำลาย

พืชที่ด้วงขาโตเข้าทำลาย:

  • มะขามหวาน
  • มะขามเปรี้ยว
  • เมล็ดคูณ
  • เมล็ดกัลปพฤกษ์
  • ถั่วลิสง

ลักษณะการทำลาย:

  • ตัวอ่อนเจาะเมล็ดและกัดกินภายใน
  • เหลือซากเป็นรูพรุน มูลแมลง และรอยปลอกดักแด้ในฝัก
  • ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ไม่เหมาะสำหรับจำหน่ายหรือบริโภค
  • มักเกิดในระยะก่อนเก็บเกี่ยว หรือระหว่างเก็บรักษาฝักมะขามที่ไม่แห้งสนิท

การแพร่กระจาย

  • พบระบาดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
  • มีรายงานการระบาดในหลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

วิธีการป้องกันและควบคุม

✅ การจัดการทางกายภาพ:

ควบคุมอุณหภูมิ: ใช้ความร้อนหรือความเย็นจัด เพื่อหยุดพัฒนาการหรือฆ่าแมลง
อบแก๊ส (Fumigation):
  • ควรทำก่อนจัดเก็บวัตถุดิบ
  • เหมาะกับผลิตผลที่รอ Reject เพื่อหยุดการแพร่พันธุ์
ลดเวลาเก็บ: ไม่ควรเก็บวัตถุดิบนานเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงการสะสมแมลงในโรงเก็บ
กำจัดผลิตผลที่พบแมลง: แยกทำลาย ไม่ปะปนกับสินค้าปกติ

✅ การควบคุมโดยชีววิธีและการเฝ้าระวัง:

ใช้สถานีฟีโรโมน (Pheromone Trap):
  • ดักจับตัวเต็มวัยเพศผู้
  • ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการระบาดในโรงเก็บ

สรุป

ด้วงขาโต (Caryedon serratus) เป็นหนึ่งในแมลงศัตรูที่สำคัญต่อ “เมล็ดมะขาม” และ “พืชตระกูลถั่ว” ทั้งในขั้นตอนก่อนและหลังเก็บเกี่ยว แม้จะไม่ใช่แมลงที่สร้างความเสียหายรุนแรงแบบฉับพลัน แต่ความเสียหายทางคุณภาพที่เกิดจากการกัดกินของตัวอ่อน รวมถึงซากมูลและปลอกดักแด้ภายในฝักนั้น ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสะอาด ปลอดภัย และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

แนวทางการควบคุมที่ได้ผลต้องเป็นแบบ ผสมผสาน (IPM) โดยอาศัยการจัดการแปลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการใช้ฟีโรโมนเฝ้าระวังร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 524,288