ปลวก โอดอนโตเทอร์เมส ODONTOTERMES FEAE TERMITE

ปลวก โอดอนโตเทอร์เมส
ODONTOTERMES FEAE TERMITE

ชื่อสามัญ: ปลวกโอดอนโตเทอร์เมส
ชื่อวิทยาศาสตร์: Odontotermes feae
Family: Termitidae
Order: Blattodea


ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 6.5-9 mm. ส่วนหัว (head capsule) กลมใหญ่สีน้ำตาล กราม (mandible) โค้งยาว อกปล้องแรก (pronotum) เป็นรูปอานม้า ท้องทรงกระบอกยาวสีครีม


ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น


แหล่งอาหาร :
 กินเนื้อไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ ซากพืช และเชื้อราที่เพาะเลี้ยงไว้ในรัง ทำลายไม้โครงสร้างอาคาร ไม้ที่เก็บไว้ ท่อนซุง ตอไม้ในป่า ลักษณะการกินเนื้อไม้คล้ายกับปลวกในสกุล Macrotermes โดยนำดินมาเคลือบผิวไม้ ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ กัดกินเนื้อไม้จากผิวเข้าไปเป็นพื้นที่กว้างตามแนวขวางเสี้ยนไม้

แหล่งอาศัย : เป็นปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อรา (fungus-growing termite) เพาะเลี้ยงเชื้อราไว้ภายในรัง มักทำรังเป็นโพรงใต้ดิน หรือสร้างรังเป็นจอมปลวก (mound-building termite) อยู่บนพื้นดิน
การแพร่กระจาย : มีการกระจายอย่างกว้างขวางในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย และเวียดนาม
พฤติกรรม : เป็นแมลงสังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ*

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร สร้างรัง ซ่อมแซมรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน วรรณะสืบพันธุ์ และปลวกทหาร
วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีกรามใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน
วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

เอกสารอ้างอิง

Saha, N., P.C. Mazumdar, J. Basak, A. Raha, A. Majumder & K. Chandra (2016). Subterranian termite genus Odontotermes (Blattaria: Isoptera: Termitidae) from Chhattisgarh, India with its annotated checklist and revised key. Journal of Threatened Taxa 8(3): 8602–8610

M. L. Roonwal and S. C. Verma Desert Regional Station, Zoological Survey of India, Paota B Road, Jodhpur (Rajasthan). 1991. The South Asian wood-destroying termite, Odontotermes Jeae (synonym o. indicus). Identity, biology and economic importance (Termitidae, Macrotermitinae)


แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 433,247