ปลวก เพอร์ริคาไพรเทอร์เมส PERICAPRITERMES TERMITE

ปลวก เพอร์ริคาไพรเทอร์เมส
PERICAPRITERMES TERMITE

ชื่อสามัญ: ปลวกเพอร์ริคาไพรเทอร์เมส
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pericapritermessp.
Family: Termitidae
Order: Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 6-7 mm. ส่วนหัว (head capsule) ยาวและแคบ ใหญ่กว่าลำตัวมาก ลักษณะคล้ายกับปลวกในสกุล Dicuspiditermes ส่วนกราม (mandible) มีลักษณะยาวไม่สมมาตร

 

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

แหล่งอาหาร : เป็นปลวกกินดินและอินทรียวัตถุ กินซากพืช หาอาหารในดินลึก 10-20 cm.
แหล่งอาศัย : สร้างรังใต้ดินขนาดเล็ก มักพบอาศัยอยู่ตามป่า
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายอย่างกว้างขวางจากแอฟริกาไปยังนิวกินี ทั่วทั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พฤติกรรม : เป็นแมลงสังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ*

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร สร้างรัง ซ่อมแซมรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน วรรณะสืบพันธุ์ และปลวกทหาร
วรรณะทหาร (soldier)
: มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีกรามใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน

วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

เอกสารอ้างอิง

Jones DT (2000) termite assemblages in two distinct montane forest types at 1000 m elevation in the Maliau Basin, Sabah. Tropic J Ecol 16: 271-286.

Gathorne-Hardy FJ, Syaukani, Eggleton P (2001) The effects of altitude and rainfall on the composition of termites (Isoptera) of the Leuser Ecosystems (Sumatra, Indonesia). Tropic J Ecol 17: 379-393.

Gillison AN, Jones DT, Susilo FX, Bignell DE (2003) Vegetation indicates diversity of soil macroinvertebrates: a case study with termites along a land-use intensification gradient in lowland Sumatra. Org Divers Evol 3: 11-126. 

Quah. 2014. Pericapritermes sp. Accessed on September 10, 2022, From https://termitesandants.blogspot.com/2014/09/pericapritermes-sp.html

Termite Web. (n.d.) Pericapritermes. Accessed on September 10, 2022, From https://www.termiteweb.com/pericapritermes/

Teguh Pribadi, Rika Raffiudin, Idham Sakti Harahap, Faculty of Agriculture, PGRI University of Palangka Raya. Termites community as environmental bioindicators in highlands: a case study in eastern slopes of Mount Slamet, Central Java. BIODIVERSITAS Volume 12, Number 3, July 2011 Pages: 235-240

Krishna, K. (1968) Phylogeny and generic reclassification of the Capritermes complex (Isoptera, Termitidae, Termitinae). Bulletin of the American Museum of Natural History, 138, 261 - 323.

Miller, L. R. (1991) A revision of the Termes - Capritermes branch of the Termitinae in Australia (Isoptera: Rhinotermitidae). Invertebrate Taxonomy, 4, 1147 - 1282.

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,655