ปลวก มาโครเทอร์เมส MACROTERMES GILVUS

ปลวก มาโครเทอร์เมส
MACROTERMES TERMITE 

ชื่อสามัญ: Macrotermes
ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrotermes gilvus
Family: Termitidae
Order:
Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา 

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวลำตัวประมาณ 5 mm. ส่วนหัวมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้มอมส้ม กราม (mandible) ใหญ่ อกปล้องแรก (pronotum) ขยายใหญ่แบนออกข้างขอบมน ขาเรียวยาว  

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

แหล่งอาหาร : กินเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษซากไม้ ซากพืช และเชื้อราที่เพาะเลี้ยงไว้ในรัง เข้าทำลายไม้โดยนำดินมาเคลือบไว้ตามผิวไม้ ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ และกัดกินเนื้อไม้จากผิวไม้เข้าไปเป็นพื้นที่กว้างตามแนวขวางเสี้ยนไม้ ทำความเสียหายให้อาคารบ้านเรือน และไม้ใช้ประโยชน์กลางแจ้ง
แหล่งอาศัย : เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก (mound-building termite) สร้างรังดินเป็นจอมปลวกขนาดกลางถึงใหญ่เห็นได้ชัดเจนบนพื้นดิน รังหรือเนินสามารถสูงได้ถึง 2 เมตร ขนาดของรังแตกต่างกันไปตามสถานที่และปริมาณอาหาร และยังเป็นปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อรา (fungus-growing termite) เพาะเลี้ยงเชื้อราไว้ในรัง เรียกว่า สวนเห็ด (fungus garden) 
การแพร่กระจาย : แพร่หลายในมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์
พฤติกรรม : เมื่อเจอปลวกสายพันธุ์อื่นในป่าจะโจมตีทันที ลักษณะเด่นคือ มีนางพญาอยู่หลายตัวในห้องเดียว  เป็นแมลงสังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ

วรรณะงาน (worker) : เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร สร้างรัง ซ่อมแซมรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน วรรณะสืบพันธุ์ และปลวกทหาร
วรรณะทหาร (soldier) : มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีกรามใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน
วรรณะสืบพันธุ์ : ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์

 

เอกสารอ้างอิง 

The Network of Protected Forests in Telupid, Sabah: Biodiversity & Conservation in the Heart of Borneo, 2014. Sabah Forestry Department, Sabah, Malaysia. pp. 155.  

Chung, A.Y.C., Paul, V., Ibrahim, N. A., Japir, R., Pang, K.K.N. & Anuar, M. (2021). Pengenalan kepada Serangga-serangga Perosak Ladang Hutan di Sabah. Sabah Forestry Department, Malaysia. pp. 160. 

Nik Ahmad Irwan Izzauddin, N. H., Suhaila, A.H. & Zarul, H.H. (2019). Royal Belum-Temengor Rainforest : The Hidden Treasure of Perak. Penerbit Universiti Sains Malaysia and Kementerian Air, Tanah dan Sumber Asli. pp. 300. 

Dhang, P. (2011) A Preliminary Study on Elimination of Colonies of the Mound Building Termite Macrotermes gilvus (Hagen) Using a Chlorfluazuron Termite Bait in the Philippines. Insects 2011, 2(4), 486-490; doi:10.3390/insects2040486. 

Dhang, P. (2014) Examining the economics of termite baiting in a South East Asian scenario. Proceedings of the Eighth International Conference on Urban Pests Gabi Müller, Reiner Pospischil and William H Robinson (editors) 2014 Printed by OOK-Press Kft., H-8200 Veszprém, Papái ut 37/a, Hungary, pp 279-283. 

Garcia, C.M., Giron, M.Y. and Broadbent, S.G. (2007) Termite baiting system: a new dimension of termite control in the Philippines. Proceedings of the 38th International Research Group on Wood Preservation, Wyoming, USA, May pp 12. 

Peters, B.C., Broadbent, S.G. and Dhang, P. (2008) Evaluating a baiting system for management of termites in landscape and orchard trees in Australia, Hong Kong, Malaysia and Philippines. In: Robinson W.H. and Bajomi D. (eds.) Proceedings of the Sixth International Conference on Urban Pests, Budapest, July 2008, OOK-Press, Budapest pp. 379-383. 

Rojas, M.G. and Morales-Ramos, J. A. (2004) Disruption of reproductive activity of Coptotermes formosanus (Isoptera: Rhinotermitidae) primary reproductives by three chitin inhibitors. Journal of Economic Entomology 97, 2015-2020. 

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). ปลวก (Macrotermes gilvus). แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofinsect&view=showone&id=561, 6 กันยายน 2565 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,459