ปลวก GLYPTOTERMES SP.

ปลวกไม้แห้ง กลิปโตเทอร์เมส
DRYWOOD TERMITE GLYPTOTERMES
 

ชื่อสามัญ: Drywood termite Glyptotermes
ชื่อวิทยาศาสตร์: Glyptotermes sp.
Family: Kalotermitidae
Order: Blattodea

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา 

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)
ลักษณะปีก : แบบบางใส (membrane)
ลักษณะปาก : กัดกิน (chewing type)
ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)ลักษณะทั่วไป : ส่วนหัว (head capsule) และอกปล้องแรก (pronotum) สีน้ำตาล ริมฝีปากบน (labrum) สีส้มอมน้ำตาล ส่วนหัวเกือบเป็นทรงลูกบาศก์ มีเขา (frontal horns) ยื่นออกไปด้านหน้าและมีขนแข็งกระจายอยู่ทั่ว

ปลวก มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียวางไข่ชุดแรก 15-30 ฟอง สามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง ระยะฟักใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ไข่มีสีขาวขนาดเล็กกลม
  • ตัวอ่อน (larva) : มีสีขาว คล้ายตัวเต็มวัย มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย โดยปีกยังไม่เจริญ
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุขัย 4 ปี แต่นางพญามีอายุขัยประมาณ 20 ปี หรือมากกว่านั้น

แหล่งอาหาร : กินเนื้อไม้แห้ง เป็นศัตรูพืชทางเศรษฐกิจและในเมือง ทำให้เฟอร์นิเจอร์ ไม้ที่เก็บไว้ และอาคารเสียหาย มองไม่เห็นความเสียหายจากภายนอก แต่เมื่อตัดท่อนไม้ออกจะเห็นรูขนาดใหญ่หลายรูที่เต็มไปด้วยมูลของมัน
แหล่งอาศัย : เป็นปลวกไม้แห้ง (dry-wood termite) สร้างรังเล็ก ๆ ตามกิ่งไม้ที่ตายแล้ว อาศัยอยู่ในไม้แห้ง ไม้ที่ใช้งานมานาน ความชื้นต่ำ
การแพร่กระจาย : มีการกระจายอย่างกว้างขวางในระบบนิเวศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
พฤติกรรม : เป็นสายพันธุ์ที่เก็บความชื้นได้ดี มีต่อมทวารหนักพิเศษอยู่บริเวณขาหลัง สสารที่ไม่ได้ย่อยผ่านทางเดินอาหารจะถูกดูดซับและขับออกที่ต่อมนี้ และยังสามารถทนต่อสภาพแห้งได้ดี เป็นสัตว์สังคม ซึ่งแบ่งเป็นระบบวรรณะ*

วรรณะงาน (worker) :
เป็นแรงงานภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร ดูแลซ่อมแซมไข่และรัง ป้อนอาหารตัวอ่อน
วรรณะทหาร (soldier) :
มีหน้าที่ปกป้องรังเท่านั้น มีหัวขนาดใหญ่ทีมีขากรรไกรใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหารเหมือนกับพวกตัวอ่อน

วรรณะสืบพันธุ์
ประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวกราชินีปลวกมีหน้าที่ในการวางไข่สำหรับสืบพันธุ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิต ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเจริญพันธ์


เอกสารอ้างอิง 

Abe, T. (1987) Evolution of life types in termites. In Evolution and Coadaptation in Biotic Communities, S. Kawano, J. Connell, and T. Hidaka, eds. (Tokyo: University of Tokyo Press), pp 125–148. 

Abe T, Bignell DE, and Higashi M. 2000. Termites: Evolution, Sociality, Symbioses, Ecology. Kluwer Academic Publishers. 

Poovoli Amina, Keloth Rajmohan, A Zoological Survey of India. 2016. Glyptotermes chiraharitae n. sp., a new dampwood termite species (Isoptera: Kalotermitidae) from India. Accessed on September 5, 2022, From chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://sciencepress.mnhn.fr/sites/default/files/articles/hd/z2016n3a2_pdfa.pdf 

 Scheffrahn RH (2021) The termite genus Glyptotermes (Isoptera, Kalotermitidae) from Paraguay. ZooKeys 1059: 23-33.  

Nalepa, C. A. (August 2015). "Origin of termite eusociality: trophallaxis integrates the social, nutritional, and microbial environments". Ecological Entomology. 40 (4): 323–335.


แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,637