ด้วงก้นกระดก | Paederus fuscipes
ด้วงก้นกระดก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paederus fuscipes
รูปร่างลักษณะ เป็นด้วงขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม ส่วนท้องมีสีส้ม สามารถ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลง เมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า “ด้วงก้นกระดก” โดยทั่วไปจะอาศัยในพงหญ้าที่มีความชื้น และมักจะ ออกมาเล่นไฟตามบ้านเรือนในตอนกลางคืน
ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช ตัวอ่อน – ตัวเต็มวัย
การใช้ประโยชน์ ด้วงก้นกระดกมีประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในธรรมชาติ โดยช่วยกำจัดไข่
ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย และแมลงที่มีลำ
ตัวอ่อนนุ่ม นอกจากนี้ด้วงก้นกระดกยังผลิตสารพิษ เรียกว่า “เพเดอริน” (Paederin) ซึ่งเป็นอันตรายกับคนพิษมีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ
ส่วนใหญ่จะพบพิษในด้วงก้นกระดกเพศเมีย ตามปกติด้วงก้นกระดกจะไม่กัดแต่จะปล่อย สารพิษออกมา เมื่อตกใจเพื่อเป็นการป้องกันตัว