วิธีการควบคุมแมลงวัน

วิธีการควบคุมแมลงวัน

1. การควบคุมโดยชีววิธี(biological control)

เป็นการใช้สิ่งชีวิตที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ คือ ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasites) และ จุลินทรีย์ (microorganisms) มาช่วยในการกำจัดแมลงวัน เช่น ไรตัวเบียน แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก ตั๊กแตน ตำข้าว มด แตน ต่อ แมลงหางหนีบ กบ คางคก นก ไก่ เป็นต้น

2. การควบคุมโดยใช้สารเคมี(chemical control)

ในท้องที่ที่ต้องการกำจัดแมลงวันให้หมดไปโดยเร็ว การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงจะช่วยให้ได้ผลยิ่งขึ้น

3. การควบคุมโดยวิธีกล (mechanical control)

3.1 การใช้วัสดุกาวเหนียว

3.2 การใช้กับดักแสงไฟ

3.3 การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อ โดยอาศัยอาหารหรือสิ่งเน่าเปื่อยซึ่งมีกลิ่นที่แมลงวันชอบ มักทำ เป็นกล่องหรือกรง

4. การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (physical control)

โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน หรือไม้แบดช็อตแมลง

การจัดการแมลงวัน

ในการจัดการเพื่อควบคุมจำนวนแมลงวัน ต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อมิให้มีการระบาด เช่น การรักษา ความสะอาด การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และการใช้เหยื่อล่อ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการ ที่ปลอดภัย ประหยัด ง่ายต่อการปฏิบัติ ป้องกัน แก้ไข ณ จุดต้นตอของปัญหา โดยการขจัดแหล่งอาหาร แหล่งเกาะพักอาศัย และแหล่งเพาะพันธุ์ โดยปิดกั้น หรือสกัดกั้นไม่ให้แมลงวันเข้าถึงสถานที่ปรุงหรือผลิต อาหาร รวมทั้งการจัดการเรื่องความสะอาดของอาคารสถานที่เพื่อไม่ให้มีกลิ่นอาหารที่เกิดจากการหมักหมม บูดเน่า ที่สามารถดึงดูดแมลงวันให้เข้ามาในพื้นที่ได้

การพิจารณาการนำสารเคมีซึ่งเปนวัตถุอันตรายมาใช้ควรเป ็ นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้มาตร ็ การอื่น ๆ ไม่บังเกิดผลแล้ว และต้องตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การพิจารณาดำเนินการด้วยความละเอียด รอบคอบ โดยทั่วไป การจัดการแมลงวันมีขั้นตอนในการปฏิบัติที่สำคัญ คือ

1. การสำรวจหรือตรวจสอบ (inspection)

เนื่องจากแมลงวันมีแหล่งระบาดแตกต่างกันออกไป จึงต้องตรวจสอบแหล่งที่แมลงระบาดให้ชัดเจน การควบคุมกำจัดจึงจะได้ผล การสำรวจแมลงวันทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยม ได้แก่

แผงสำรวจแมลงวัน (fly grill count หรือ scudder grill)

เป็นวิธีการซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผงสำรวจทำด้วยแผ่นไม้ขนาดกว้าง 3/4 นิ้ว ประมาณ ็ 16–24 แผ่น โดยทำเปนแผงที่มีช่องว่างเท่า ๆ กัน มีพื้นที่ระหว่าง 0.8 ตารางเมตร (ขนาดใหญ่) ถึง ็ 0.2 ตาราง เมตร (ขนาดเล็ก) ขนาดใหญ่ใช้บริเวณนอกอาคารบ้านเรือน สำหรับขนาดกลาง และขนาดเล็กเหมาะกับการใช้ ในอาคาร ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาดของอาคารบ้านเรือน

การสำรวจแมลงวันทำโดยเอาแผงสำรวจไปวางที่มีแมลงวันชุกชุมและนับจำนวนแมลงวันที่มาเกาะที่ แผงในระยะเวลา 30 วินาที ในการสำรวจแต่ละจุดควรทำ 3–5 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย

วิธีนี้สามารถสำรวจจำนวนแมลงวันได้อย่างรวดเร็วและง่าย เหมาะกับอาคารที่อยู่อาศัย แต่มีข้อเสีย ถ้าแมลงวันเกาะกระจัดกระจายจะนับลำบาก และขึ้นกับอุณหภูมิขณะสำรวจ ควรตรวจนับในเวลาเดียวกัน ทั้งก่อนดำเนินการควบคุมและประเมินผล

การสำรวจ

ในการวางแผนและการประเมินผลการควบคุมแมลงวัน จำเป็นจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับความ ชุกชุมของแมลงวัน รวมทั้งทราบการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการดำเนินการควบคุม

ในการสำรวจเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงความชุกชุมของแมลงวันตัวเต็มวัยมีหลายวิธีการ แต่ ทุก ๆ วิธีการไม่สามารถบอกจำนวนแท้จริงของแมลงวันในท้องที่นั้น ๆ ได้ ดังนั้น การสำรวจจึงเป็นเพียงการ บอกตัวเลขค่าดัชนีเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการควบคุมเท่านั้น

2. การจัดการแหล่งพักอาศัย

การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อาศัยของแมลงวันทางด้านต่าง ๆ เช่น อาหาร ความชื้น การจัดการ สภาพแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของแมลงวัน

3. การจัดการโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

3.1 กำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น

  • จัดเก็บขยะให้มิดชิดและนำออกกำจัดให้บ่อยเท่าที่สามารถจะทำได้
  • นำมูลสัตว์ไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยคอก หากเป็นฟาร์มปศุสัตว์ ควรจัดสถานที่เก็บมูลสัตว์ที่ เหมาะสมและถูกหลักสุขาภิบาล

3.2 ปิดกั้นหรือสกัดกั้นทางเข้า–ออก เช่น

  • สร้างห้องเก็บขยะเปียกและขยะเศษอาหารต่างหาก เพื่อป้องกันกลิ่นที่อาจดึงดูดแมลงวัน และเพื่อปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงขยะได้
  • ติดตั้งมุ้งลวดที่ประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศของห้องครัวและห้องอาหาร
  • ติดตั้งม่านลม (air curtain) หรือแถบริ้วพลาสติก (plastic strip) ณ บริเวณทางเข้า-ออก ของอาคารตามความเหมาะสม

3.3 ให้ความรู้แก่ผู้อาศัยในอาคารบ้านเรือนและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการแมลงวันแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดอบรมให้กับผู้ที่อยู่ในชุมชน หรือผู้ประกอบการประเภทโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • จัดทำโปสเตอร์ แผ่นพับและสื่อสุขศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการจัดการแมลงวัน

4. การจัดการโดยวิธีกล

4.1 การใช้วัสดุกาวเหนียว

เนื่องจากอุปนิสัยแมลงวันชอบเกาะพักตามสิ่งที่ห้อยแขวนหรือกิ่งก้าน ของต้นไม้เตี้ย ๆ ดังนั้น การใช้กาวเหนียวทาลงบนพื้นที่ดังกล่าวจึงสามารถดักจับแมลงวันได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายหลายชนิดทั้งที่เป็นแถบ เป็นแผ่น และกาวชนิดใช้พันกับก้านไม้ ซึ่งค่อนข้างสะดวก ต่อการใช้งานเมื่อแมลงวันมาเกาะเต็มแล้วก็นำไปกำจัดทิ้ง

4.2 การใช้กับดักแสงไฟ

เป็นวิธีการใช้คลื่นแสงดึงดูดแมลงวันเข้ามาสู่กับดักแล้วถูกแผงไฟฟ้า ช็อตหรือติดกับแผ่นกาวเหนียว คลื่นแสงดังกล่าวคือคลื่นแสงที่เรียกว่า black light ซึ่งแมลงชอบและมักบิน เข้าหา

4.3 การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อ

เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับนิสัยของแมลงวันที่ ชอบตามกลิ่น โดยการสร้างกับดักให้แมลงวันหลงเข้ากับดัก โดยอาศัยกลิ่นที่แมลงวันชอบ มักทำเป็นกล่องหรือกรงและมีกรวยด้านบนเหนือเหยื่อ เมื่อแมลงวันกินเหยื่อก็จะบินขึ้นในแนวดิ่งเข้าสู่กับดักและไม่สามารถ บินกลับออกมาได้ เมื่อขาดน้ำขาดอาหารก็จะตายไปเอง (ซากของแมลงวันอาจนำไปใช้เป็นอาหารปลาได้) วิธีนี้จะได้ผลดีหากใช้ในพื้นที่ปิด

5. การจัดการโดยวิธีกายภาพ

โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน หรือไม้แบดช็อตแมลง นิยมใช้ในบ้านเรือนที่มีแมลงวันไม่ชุกชุมมากนัก หรือ แมลงวันที่บินพลัดหลงเข้ามา

6. การจัดการโดยชีววิธี

เป็นการใช้สิ่งที่มีชีวิตที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ คือ ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasites) และ จุลินทรีย์ (microorganisms) มาช่วยในการกำจัดแมลงวันในระยะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ หรือตัวเต็มวัย เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเหตุที่แมลงวันต่างมีศัตรูทางธรรมชาติคอยควบคุมอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับตัวควบคุมว่าเป็นชนิดใด เช่น ไร ตัวห้ำ แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก ตั๊กแตนตำข้าว มด แตน ต่อ แมลง หางหนีบ กบ คางคก นก ไก่ เป็นต้น

7. การจัดการโดยใช้สารเคมี

ข้อพิจารณาทั่วไปในการเลือกใช้วัตถุอันตราย

  1. เลือกใช้ชนิดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  2. มีประสิทธิภาพสูง ใช้ในปริมาณน้อย และแมลงวันสร้างความต้านทานยาก
  3. มีความเป็นอันตรายน้อยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายและขับถ่าย ออกนอกร่างกายได้เร็ว
  4. ควรมีฤทธิ์คงทนได้ยาวนานในสภาพธรรมชาติและไม่สลายตัวเร็วเกินไป
  5. ไม่ติดไฟง่ายและไม่มีกลิ่นเหม็น
  6. ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการอุดตัน และเปรอะเปื้อนหลังการใช้งาน
  7. สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อน

7.1 การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอน (maggot)

การควบคุมแมลงวันระยะนี้เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะตัวอ่อนการ เคลื่อนไหวย่อมช้ากว่าตัวเต็มวัยซึ่งมีปีก การควบคุมระยะตัวอ่อนนี้นิยมใช้สารเคมีในกลุ่มควบคุมการเจริญ เติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) ซึ่งสามารถกำจัดได้ทั้งระยะไข่และตัวหนอนโดยทำให้ หยุดลอกคราบ ไม่เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและตายไปในที่สุด

7.2 การใช้สารเคมีชุบวัสดุห้อยแขวน

แมลงวันชอบเกาะพักตัวตามบริเวณที่เป็นสิ่งห้อยแขวน ดังนั้น เราอาจควบคุมโดยการใช้ เชือกป่านหรือวัสดุที่เหมาะสมยาว 1–2 เมตร ชุบลงในน้ำตาลผสมกาวและสารเคมี เช่น ไดอะซินอน (diazinon) หรือ เฟนิโตรไทออน (fenitrothion) 8–10% แล้วทำให้เป็นสีดำ เมื่อแมลงวันเกาะพัก อาศัยก็จะได้รับสารเคมีและตายในที่สุด ควรเปลี่ยนเชือกทุก ๆ 2–3 วัน ขึ้นอยู่กับลักษณะสถานที่และระดับ การระบาด

7.3 การฉีดพ่นสารเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่

วิธีการนี้ใช้ในกรณีพบปัญหาแมลงวันชุกชุม ซึ่งการพ่นจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดเป็น บริเวณกว้าง จึงควรระวังเรื่องการปนเปื้อนและการฟุ้งกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงให้มากเป็นพิเศษ วิธีการนี้ มักควบคุมแมลงวันได้ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่จะให้ผลดีมากหากเป็นการฉีดพ่นลงบนที่เพาะพันธุ์และแหล่ง เกาะพักอาศัยของแมลงวัน

7.4 การใช้เหยื่อพิษ

เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมานานและได้ผลดี สามารถฆ่าแมลงวันได้อย่างรวดเร็ว นิยมใช้ทั้ง เหยื่อพิษที่เป็นของแข็งและของเหลว ซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วย น้ำตาล สารเคมี และสารดึงดูดแมลงวัน โดยทั่วไปไม่อนุญาตให้นำไปใช้ภายในบริเวณสถานที่ผลิตอาหาร นอกเสียแต่ว่าจะไม่มีการผลิตในขณะนั้น และต้องไม่นำไปวางไว้ใกล้กับอาหาร ต้องโรยเหยื่อหรือวางลงในกล่องหรือภาชนะรองรับ ไม่โรยหรือวางบน พื้นโดยตรง การใช้เหยื่อพิษจะให้ได้ผลดีต้องทำการกำจัดอาหารหรือเหยื่อชนิดอื่นที่มีในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้แมลงวันมีทางเลือก

8. วิธีการบริการโดยใช้สารเคมี

8.1 การวางแผนการบริการ ควรจัดทำตารางการวางแผนการให้บริการ (treatment plan)

โดยกำหนดวิธีการและความถี่ ห่างในการบริการ (mean and frequency of treatment) ให้เหมาะสมกับระดับการระบาดและลักษณะ สถานที่รับบริการ ทั้งนี้ ควรนำสารเคมีมาใช้เท่าที่มีความจำเป็นและมีการสลับสับเปลี่ยนสารเคมีและ รูปแบบการให้บริการอยู่ในตัวเบ็ดเสร็จ เพื่อป้องกันแมลงที่อาจสร้างความต้านทานสารเคมี รูปแบบของ แผนการให้บริการอาจจัดทำตามตัวอย่างใน “ตัวอย่างแผนการให้บริการ” 

8.2 การบริการ เพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติการหรือฝ่ายบริการทราบถึงรายละเอียดของวิธีการบริการตลอดจน สารเคมีที่ใช้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมหรือข้อตกลงของแต่ละสถานที่รับบริการ จึงควรจัดทำรายละเอียด การทำบริการ (treatment details) แนบติดไว้กับบัตรบริการด้วย

8.2.1 การฉีดพ่นสารเคมี (spraying) อาจเป็นการฉีดพ่นครอบคลุมพื้นที่ซึ่งมีการระบาด เพื่อการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์หรือฉีดพ่นลงที่แหล่งเกาะพักอาศัย การฉีดพ่นที่แหล่งเพาะพันธุ์ควรใช้เครื่องพ่น อัดแรงที่สามารถพ่นสารเคมีให้มีขนาดละอองใหญ่พอสมควร เพื่อทำให้พื้นผิวของแหล่งเพาะพันธุ์เปียกลึก ได้ระหว่าง 10–15 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) หรือ คาร์บาเมต (carbamates) ส่วนผสมที่ใช้ 0.5–1.0 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้สารกลุ่มควบคุมการเจริญ เติบโตของแมลง เช่น ไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron) ส่วนผสมที่ใช้ 1.0 กรัมต่อตารางเมตร ตาม ความเหมาะสมกับสถานที่รับบริการ

การฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวแมลงวัน ควรฉีดตอนเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งเวลาดังกล่าวแมลงวันจะเกาะอยู่ตามที่เกาะพักอาศัยรอรับแสงแดดเพื่อบินออกหาอาหาร ไม่ควร ฉีดในเวลาฝนตกหรือเมื่อความเร็วของลมเกินกว่า 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

8.2.2 การใช้เหยื่อ (bait) กำจัดแมลงวัน ควรนำมาใช้เพื่อเสริมหรือประกอบกับโปรแกรม การบริการโดยวิธีการฉีดพ่นสารเคมี เหยื่อชนิดของเหลวต่าง ๆ เช่น liquid sprinkle และ liquid dispenser bait ควรใช้พรมหรือหยดลงบนพื้นผิวที่แมลงวันเกาะพักอาศัยภายนอกอาคารหรือบนกองขยะ ในขณะที่เหยื่อชนิดแห้ง (dry scatter bait) อาจใช้โรยบริเวณรอบ ๆ ถังขยะ ตามขอบหน้าต่างหรือ ตามบริเวณพื้นทางเดินที่มีแมลงวันระบาด หากต้องนำเหยื่อชนิดแห้งไปใช้ในพื้นที่เปียกหรือชื้นแฉะให้ใช้วิธี โรยลงบนภาชนะรองรับ เช่น ถาดพลาสติก กระดาษแข็ง หรือกล่องที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษ

8.2.3 การพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจาย (space spraying) วิธีนี้สามารถทำได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคารโดยการพ่นฝอยละออง (misting)

ก่อนการบริการพื้นที่ภายในอาคาร ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่ามีการจัดเตรียมสถานที่ โดยการเก็บหรือปิดคลุมภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การบริการพื้นที่ภายนอกอาคาร ให้ดูทิศทางลมเพื่อเริ่มบริการจากใต้ลมเดิน ทวนลมขึ้นมาเสมอ ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในบริเวณ ใกล้เคียงด้วย

9. การติดตามผล

การติดตามผลโดยการตรวจนับจำนวนแมลงวัน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จะทำให้การควบคุม ได้ผลยิ่งขึ้น

9.1 การวิเคราะห์ผล

การวิเคราะห์ผลสามารถทำได้โดยการนำผลสำรวจแต่ละจุดมารวมและคำนวณหาความ ชุกชุมเฉลี่ย มีข้อควรระวังในเรื่องชนิดแผงสำรวจ ซึ่งต้องเป็นขนาดเดียวกันจึงจะนำมารวมหาค่าเฉลี่ยได้ โดยทฤษฎีแล้วจำนวนแมลงวันที่นับได้แต่ละแผงสำรวจไม่ควรนำมาคำนวณ เปลี่ยนแปลงเพิ่มตามพื้นที แต่ในทางปฏิบัติควรคำนวณปรับเปลี่ยนความชุกชุมของแมลงวันจากแผงสำรวจให้เป็นจำนวนแมลงวันต่อ พื้นที่ 1 ตารางเมตร

10. ข้อสังเกตในการกำจัดแมลงวัน

10.1 แมลงวันสามารถบินเข้าไปได้ในสถานที่ต่าง ๆ ตามบ้าน เช่น ห้องเพดาน ห้องเก็บของ ดังนั้น ควรคำนึงถึงสถานที่ให้ครบทุกแห่ง

10.2 การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อ สามารถกำจัดแมลงวันตัวเต็มวัยได้ และวิธีนี้ยังช่วยในการ กำจัดแมลงที่แหล่งเพาะพันธุ์อีกด้วย

10.3 อย่าวางกับดักแสงไฟ (light trap) สำหรับดักแมลงวันตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะจะดึงดูด แมลงชนิดอื่น ๆ มาติดกับดักด้วย และอย่าติดตั้งกับดักแสงไฟใกล้กับแหล่งแสงไฟอื่น ๆ เช่น ตามตู้ขาย เครื่องดื่มแบบอัตโนมัติ เป็นต้น เพราะจะเป็นการสิ้นเปลื้องโดยใช่เหตุ

10.4 กับดักแสงไฟอาจจะไม่เหมาะกับแมลงวันเนื่องจากแมลงวันจะออกหาอาหารในเวลา กลางวัน

10.5 ไม่ควรใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายชนิดเดียวกันนานเกินไป เพราะแมลงวันจะเกิดความ ต้านทานได้

10.6 การสุขาภิบาลและจัดการสิ่งแวดล้อม จะได้ผลดีที่สุดถ้าทำในระดับชุมชนอย่างทั่วถึงและ ต่อเนื่อง

 

Visitors: 434,661