มอดฟันเลื่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์         Oryzaephilus surinamensis (Linnaeus)
ชื่อเดิม   
                   Coleoptera
วงศ์                            Silvanidae

 

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

เป็น secondary pest เหมือน มอดแป้ง โดยที่ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะแทะเล็มอยู่ที่ผิวเมล็ด จะเข้าไปทำลายภายในเมล็ดหลังจากมีแมลงชนิดอื่นเข้าไปทำลายอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เมล็ดได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

มอดฟันเลื่อยเป็นแมลงขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวแบนยาว มีขนาด 2.5 – 3.0 มม. ลักษณะที่เด่นชัดต่างจากแมลงชนิดอื่น คือ ขอบด้านข้างส่วนอกจะมีลักษณะเป็นแบบฟันเลื่อยข้างละ 6 ซี่ ตัวเมียวางไข่ตลอดชีวิตได้ 45-285 ฟอง โดยวางไข่เดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มปะปนลงในอาหารหรือตามรอยแตกของเมล็ด ไข่มีสีขาวและไข่ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 3-5 วัน ตัวอ่อนเรียวเล็กสีขาวนวลใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ โดยลอกคราบ 2-5 ครั้ง จึงเข้าดักแด้โดยใช้เศษอาหารเป็นปลอกหุ้มตัว ลักษณะเด่นของดักแด้ คือ ด้านข้างของส่วนอกจะมีระยางค์เล็ก ๆ ยื่นออกมาข้างละ 6 เส้น ระยะดักแด้ 6-10 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 24-30 วัน ตัวอ่อนโตเต็มที่ยาว 4- 5 มม. ตัวเต็มวัยสามารถอยู่ได้นาน 6-10 เดือน เนื่องจากบินไม่ได้จึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนอาหารได้รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการรวมกลุ่มกัน สภาพที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 30- 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90%

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

แพร่กระจายไปทั่วโลก ในประเทศไทยระบาดตลอดปี ตามโรงสี โรงเก็บและโรงงาน

พืชอาหาร

เมล็ดธัญพืชทุกชนิด ข้าวสาร มะม่วงหิมพานต์ ถั่ว แป้ง เครื่องเทศ อาหารสัตว์ ยาสูบ เนื้อแห้ง และผลไม้แห้ง

ศัตรูธรรมชาติ

ตัวห้ำทำลายไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ คือ มวนไซโลคลอรีส (Xylocoris flavipes Reuter)

      แนวทางป้องกันกำจัด

ปริมาณการขยายตัวของจำนวนมอดจะลดลงได้โดย

(1) สภาพในโรงเก็บและเมล็ดมีความชื้นต่ำ

(2) เก็บไม่ให้มีอากาศถ่ายเท

(3) อุณหภูมิต่ำ

(4) การใช้ฟีโรโมนในการตรวจสอบ 

Visitors: 433,351