Red flour beetle

มอดแป้ง (red flour beetle)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Tribolium castaneum (Herbst)

วงศ์ :Tenebrionidae

อันดับ :Coleoptera

พืชอาหาร

เมล็ดธัญพืช แป้งชนิดต่างๆ รำข้าว เครื่องเทศ กาแฟ โกโก้ ผลไม้แห้งและหนังสัตว์

ลักษณะ

ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวแบนยาว  ปลายหนวดเป็นรูปทรงกระบอง ตัวเมียวางไข่ประมาณ  400-500  ฟอง ตามกระสอบ รอยแตกของเมล็ดข้าวหรือในแป้ง  ไข่มีรูปร่างยาวรี สีขาว มีสารเหนียวหุ้ม  ทำให้เกาะติดอาหารได้ง่าย ตัวเมียอาจผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง วางไข่บนอาหารปริมาณการวางไข่ขึ้นอยู่กลับอุณหภูมิ 35 °c ความชื้นสัมพันธ์ 75 % ไข่จะฟักใน 3-7 วัน หนอนสีน้ำตาลอ่อนเรียวยาว และอาศัยอยู่ในแป้ง ใช้เวลา 21-40 วัน โดยมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง ระยะดักแด้ 3-7 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา  26-40  วัน ตัวเต็มวัยมอดแป้งอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง  6   เดือน ตัวเต็มวัยของมอดแป้งมีพฤติกรรมกัดกินไข่และดักแด้ของมันเอง มอดแป้งมักแป้งมักมีนิสัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

การแพร่กระจายและลักษณะการทำลาย

                 ส่วนใหญ่จะติดมากลับเมล็ดพันธุ์ วัสดุหีบห่อ การเข้าทำลายเกิดจากตัวเต็มวัยเข้ากัดกินผิวเมล็ดพืชที่มีแมลงในโรงเก็บชนิดอื่นเข้าทำลายในเมล็ดแตกหักแล้ว ความเสียหายเกิดได้ทั้งจากตัวหนอนและตัวเต็มวัย แป้งที่มอดเข้าทำลายจะมีกลิ่นเหม็น

                แพร่กระจายทั่วโลก แต่พบมากและระบาดในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในประเทศไทยพบทุกภาคและระบาดตลอกปี

การป้องกันกำจัด

ทำความสะอาดโรงเก็บ นำแป้งที่ตรวจพบมอดแป้งหรือสงสัยนำไปร่อนแยกแล้วนำมาเก็บโดยการแยกกับแป้งอื่นๆ ที่ยังไม่มีการระบาดแล้วนำแป้งที่ทำการแยกแล้วนั้น นำไปอบแก๊สและพักไว้ประมาณ 20-30 วัน แล้วทำการอบซ้ำเพื่อเป็นการป้องกันมอดแป้งที่ฝักตัวออกมาจากไข่อีกรอบหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดอีกรอบ

 

Visitors: 434,923