แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว (อะซีโคเดส)

แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว (อะซีโคเดส)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acecodes hispinarum 

รูปร่างลักษณะ เป็นแตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าวเป็นศัตรู ธรรมชาติที่ช่วยทำลายแมลงดำหนามมะพร้าว เพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย ปลายส่วนท้องของ เพศเมียมีอวัยวะช่วยวางไข่คล้ายเข็มเล็กๆ โดยแทง เข้าไปในลำตัวของหนอนแมลงดำหนาม เมื่อตัวอ่อน แตนเบียนฟักออกมาเป็นตัวจะดูดกินของเหลวในตัวหนอน เจริญเติบโตและเข้าดักแด้ในตัวหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนที่ถูกเบียน จะเคลื่อนไหวช้า กินอาหารน้อยลง ภายหลังจากถูกเบียน 5 – 7 วัน หนอนที่ถูกเบียน จะตายลักษณะลำตัวเป็นสีดำแข็งเรียกว่า “มัมมี่”

ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช ตัวอ่อน

อัตราการใช้ อัตราการปล่อย 5 มัมมี่ต่อไร่

การใช้ประโยชน์ ปล่อยแตนเบียนในระยะดักแด้ ซึ่งอาศัยอยู่ในซากแมลงดำหนามมะพร้าวที่เรียกว่า “มัมมี่” เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย โดยใช้ซากมัมมี่หลังจากการถูกเบียน 14 วัน โดยใส่อุปกรณ์ที่สามารถป้องกันแดดและฝน ไปแขวนในสวนมะพร้าว หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน แตนเบียนก็จะฟักเป็นตัว ผสมพันธุ์และวางไข่ทำลายหนอนแมลงดำหนามที่ยอดมะพร้าว

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 434,637