แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง (อะนาจายรัส โลเปสซิ)

แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง (อะนาจายรัส โลเปสซิ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anagyrus lopezi

รูปร่างลักษณะ เป็นแมลงที่มีประโยชน์ใช้ควบคุมเพลี้ยแป้ง มันสำปะหลังมีถิ่นกำเนิดในประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และโบลิเวีย ลำตัวมีขนาดเล็กสีดำมีปีกใส 2 คู่ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.2 – 1.4 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ เพศผู้มีหนวดสีดำยาวเรียว
เพศเมียหนวดปล้องแรกมีลักษณะเป็นแผ่นแบนใหญ่ กว่าปล้องอื่นๆ และมีสีขาวสลับดำ

ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช ตัวอ่อน – ตัวเต็มวัย

การใช้ประโยชน์ แตนเบียน Anagyrus lopezi มีพฤติกรรมเป็นทั้งตัวห้ำ และตัวเบียน โดยสามารถ ฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายทันที เรียกว่า “การห้ำ” หรือวางไข่ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เรียกว่า “การเบียน” ซึ่งทั้งการห้ำและการเบียนเกิดจากการกระทำของแตนเบียนเพศเมียเท่านั้น



แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 433,446