หนู

หนู

เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ และนำความเสียหายนานับประการแก่เศรษฐกิจของมนุษย์เป็นจำนวน มหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัด แทะ กินพืชผลที่มนุษย์ปลูกตั้งแต่ ในไร่นา รวมทั้งการทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ในระหว่างการขนส่งและการแปรรูปผลิตผล จนกระทั่งอยู่ในมือผู้บริโภค นอกจากทำลายพืชผลทางการเกษตรแล้ว อาหารสัตว์และผลผลิตจากสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์ก็ถูกหนูทำลายเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้ หนูยังเป็นสัตว์พาหะ สำคัญที่นำโรคหลายชนิดสู่คนและสัตว์เลี้ยง เช่น โรคไข้ฉี่หนู (leptospirosis) โรคไข้หนู (murine thyphus หรือ scrub thyphus) กาฬโรค (plaque) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

ส่วนความเสียหายทาง อ้อมมักเกิดจากการกัดแทะเพื่อลับฟันของหนูตามวัสดุของสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน ของใช้ต่าง ๆ สายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในอาคาร ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ มนุษย์ รวมทั้งการขุดรูอาศัยภายใต้อาคาร ตามคันดิน คันคลอง หรือในท่อระบายน้ำเสีย ทำให้พื้นอาคารทรุด ตลิ่งทรุด เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ การทำลายที่เกิดขึ้นเหล่านี้เสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ในปัจจุบันระบบผลิตอาหารปลอดภัยนั้นจะต้องคำนึงถึงการผลิตทุกขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนจะต้องมี หลักปฏิบัติและการควบคุมการผลิตเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่มีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภค และการป้องกันกำจัดหนูจึงเป็นมาตรการหนึ่งในการรับรองมาตรฐานสุขอนามัยทุกกระบวนการผลิต เช่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสำหรับคนและสัตว์ โรงสีข้าวที่ผลิตข้าวบรรจุถุงสำเร็จรูป ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันและกำจัดหนูอย่างถูกต้องและเป็นระบบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากหนูในทุก กระบวนการผลิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดต่อโรคจากหนูสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้

 

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของหนู

ชีววิทยาของหนู

หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมี 4 เท้า รูปร่างทรงกระบอก ลำตัวและส่วนหัวมีขนปกคลุมตลอด ดวงตากลม ใบหูใหญ่ บริเวณจมูกและปากมีขนพิเศษยื่นยาวออกมาเห็นเด่นชัด มีหางยาวเท่ากับหรือยาวกว่า ความยาวหัวรวมลำตัว มักมีเกล็ดละเอียดและอาจมีขนสั้นอยู่ประปราย ขาหน้าเล็กมี 4 นิ้ว ส่วนขาหลังใหญ่ กว่าและมี 5 นิ้ว

หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วและเกือบตลอดปี ปกติหนูเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ขึ้นไป ระยะเป็นสัด (estrus cycle) ในหนูเพศเมียประมาณ 4-8 วัน และยอมรับการผสมพันธุ์จากหนูเพศผู้เฉพาะ ช่วงที่เป็นสัดเท่านั้น เพศเมียตั้งท้องนาน 20-23 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว หลังคลอดลูกแล้ว 24 ชั่วโมง แม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที ดังนั้น ในปีหนึ่ง ๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก และมีการ คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตาม ประชากรของ หนูในธรรมชาติจะไม่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป เพราะปริมาณหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ศัตรูธรรมชาติ เชื้อโรค ฯลฯ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับชีววิทยาของหนูบ้าน ที่พบในประเทศไทยแสดงไว้ใน

ลูกหนูที่เกิดใหม่ ลำตัวเป็นสีแดง ส่วนตาและใบหูพับปิดสนิท ขนเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 2-4 วัน มีขนขึ้น เต็มตัวและหูได้ยินเสียงเมื่ออายุ 8-12 วัน ตาเปิดเมื่ออายุ 14-17 วัน ลูกหนูอายุ 3 สัปดาห์ จะเริ่มหย่านม และ กินอาหารแข็ง ๆ เมื่ออายุ 1 เดือน อายุ 2-3 เดือน หนูจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์ได้และออกจากรัง อย่างไร ก็ตาม ลูกหนูสามารถเรียนรู้อันตรายจากเหยื่อพิษและกับดักที่แม่ของมันประสบมา จึงทำให้ลูกหนูหลีกสิ่งอันตราย เหล่านี้ได้ิ

นิเวศวิทยาของหนู

ลักษณะที่สำคัญ อุปนิสัย แหล่งอาศัย และความสามารถของหนู

  1. หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก (small mammal) ที่สามารถดำรงชีวิตได้ดีตั้งแต่บริเวณ อาร์กติก เขตทุนดรา ไปจนถึงเขตร้อนชื้น ทะเลทราย และภูเขาทราย และมีความหลากหลายในเรื่องของอาหาร จึงทำให้พบแพร่กระจายเกือบทั่วโลก
  2. หนูมีฟันแทะ (incisors) 2 คู่ คือ ที่กรามบน (upper jaw) 1 คู่ และอีก 1 คู่ อยู่ที่กรามล่าง (lower jaw) ทำให้มีนิสัยการกินแบบกัดแทะ เนื่องจากส่วนเคลือบฟัน (enamel) ของฟันแทะมีความ แข็งแกร่งมาก ซึ่งมีค่าระดับความแข็งของโมห์ส (Mohs scale) เท่ากับ 5 ในขณะที่ค่าความแข็งของตะกั่ว สังกะสี และเหล็กมีค่าเท่ากับ 1.5, 2.5 และ 4.5 ตามลำดับ ส่วนที่เป็นเนื้อฟัน (dentine) ของฟันแทะซึ่ง อยู่ด้านหลังของเคลือบฟันจะสึกกร่อนได้ง่ายกว่า ดังนั้น การกัดแทะกินอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ ของหนู จึงส่งผลให้เนื้อฟันด้านหลังกร่อนมากกว่าเคลือบฟันด้านหน้า จึงทำให้ฟันแทะมีลักษณะคล้ายสิ่ว ด้วยเหตุนี้หนู จึงสามารถกัดแทะไม้ ปูน พลาสติก โลหะ หรือสายไฟเคเบิ้ลได้ไม่ยากนัก เนื่องจากฟันแทะของหนูงอกยาว ได้ตลอดชีวิตเฉลี่ยประมาณปีละ 5 นิ้ว ฟันที่ยาวขึ้นมากนั้นจะทำให้กินอาหารไม่ได้ เพื่อไม่ให้ฟันแทะคู่หน้า ยาวเกินไป จึงทำให้หนูต้องกัดแทะสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ตามทางเดินของมัน เช่น ต้นไม้ เสาไม้ สายไฟ ฯลฯ โดยไม่จำเปน็ ต้องเป็นอาหารที่กินได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ฟันแทะคม ยาวพอเหมาะ และอยู่ในตำแหน่งที่จะกินอาหารได้สะดวก
  3. หนูมีประสาทสัมผัสและรับความรู้สึกที่ดีเยี่ยม ปกติหนูเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน (nocturnal) แต่บางครั้งเมื่ออาหารขาดแคลน หรือมีประชากรหนูมากเกิน (over population) ก็อาจทำให้ หนูบางตัวต้องออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี คือ หนวด (vibrissae) ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง อุ้งตีน ทั้ง 4 ขา และ guard hair ที่มีความยาว กว่าขนอื่น ๆ อยู่บริเวณใต้ท้องของลำตัวหนู ซึ่งบริเวณเหล่านี้มีประสาทสัมผัสที่ไวมาก หนูใช้หนวดในการคลำ ทางหาอาหาร ส่วนขนที่ใต้ท้องและการสัมผัสของอุ้งตีนบนพื้นผิวที่มันวิ่งผ่านจะช่วยให้หนูเรียนรู้และจดจำถึง สภาพพื้นที่ที่มันวิ่งผ่านได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หนูจึงมักออกหากินไปตามทางเดิมอยู่เสมอ ทำให้เกิดเป็นรอย ทางเดิน นอกจากประสาทสัมผัสที่ไวมากที่ขนดังกล่าวแล้ว หนูยังมีจมูกที่มีประสาทรับกลิ่นต่าง ๆ ที่ดีเยี่ยม ใช้ ดมกลิ่นเพื่อค้นหาแหล่งอาหารที่อยู่ไกล ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ประสาทในการชิมรสอาหารที่ลิ้นก็ไวมาก และสามารถตรวจหรือรับรู้รสแปลกปลอมที่เป็นพิษในอาหารได้โดยง่าย จึงทำให้หนูเกิดการเข็ดขยาดต่อ เหยื่อ (bait shyness) และจดจำได้นาน 2-5 เดือน
  4. หนูสามารถส่งเสียงและรับฟังเสียงที่มีความถี่สูงถึง 45 กิโลเฮริท์ซ (Khz) หรือ ultrasound ในการ สื่อสารเรื่องตำแหน่งแหล่งอาหาร หรืออันตรายได้ในระยะไกล ๆ
  5. การมองเห็นภาพต่าง ๆ ของหนูไม่ดีนักเมื่อเทียบกับสายตามนุษย์ เนื่องจากระบบโครงสร้างในการ มองเห็นภาพและการรับแสงของหนูซึ่งเรียกว่า จอตา (retina) ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ทำให้เพิ่ม พื้นที่รับแสงมากขึ้น เหมาะต่อการหากินในเวลากลางคืน และมีเซลล์รูปแท่ง (rod cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไวต่อการ รับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ทำหน้าที่ในการรับภาพเท่านั้น จึงไม่สามารถให้ข้อมูล เกี่ยวกับสีได้ จึงทำให้ภาพที่หนูมองเห็น เป็นสีขาวดำเท่านั้น
  6. หนูเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะจมูกหนูมีลักษณะงองุ้มและมีแผ่นเยื่อตาปิดตา (eye lids) ขณะที่ดำน้ำ ได้มีการศึกษาความสามารถในการดำน้ำของหนูนอรเว พบว่าสามารถดำน้ำได้นาน คราวละ 30 วินาที ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าหนูชนิดนี้สามารถดำน้ำผ่านท่อระบายน้ำจากนอกบ้าน เข้าไปในบ้านได้ ปกติแล้วหนูสามารถว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกล 600-1,000 เมตร และได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  7. หนูสามารถกระโดดได้สูงถึง 0.5 เมตร และกระโดดได้ไกลถึง 1.2 เมตร จากพื้นที่ราบ และสามารถ กระโดดจากพื้นที่สูง 5-15 เมตร ลงสู่พื้นล่างได้อย่างปลอดภัยและได้ไกลอย่างน้อย 2 เมตร
  8. หนูมีหางยาว เพื่อใช้ทรงตัวและบังคับทิศทาง จึงปีนป่ายในแนวดิ่งได้ดี และ/หรือเดินไต่ลวดที่มีเส้น ผ่าศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตร ได้เป็นระยะทางหลายเมตร

 


  • หนูป่า หรือหนูนา (wild or field rats) หนูกลุ่มนี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่า ทุ่งหญ้า หรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช หนูกลุ่มนี้จะกิน เมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา ฯลฯ...

  • เป็นกลุ่มหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด พบในแหล่งชุมชน หรือในเมือง กินอาหาร เกือบทุกชนิดที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง มีทั้งที่สามารถขุดรูอาศัยในดิน หลบซ่อนอยู่ตามที่ต่าง...

  • หนูนอรเว (Norway rat, brown rat, habour rat, sewer rat, Rattus norvegicus (Berkenhout, 1769)) เปนหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ มีน้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม กินอาหารได้ทุกประเ...

  • หนูท้องขาวบ้าน (roof rat, ship rat, house rat, Rattus rattus (linnaeus, 1758)) หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีขน ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบ และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามแหล่งท...

  • หนูจี๊ด (polynesian rat, burmese house rat, Rattus exulans (Peal, 1848)) เปนหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล Rattus มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27-60 กรัม ความยาวหัวรวม ลำตัวเท่ากับ 115 ม...

  • หนูหริ่งบ้าน (house mouse, Mus musculus (Linnaeus, 1766)) ในประเทศไทย หนูชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าหนูหริ่งบ้านที่พบในยุโรป แต่สีขนคล้ายกัน คือ สีขน ด้านบนและด้านท้องคล้ำ ขนบนหลังเท้าดำ...

  • การป้องกันและกำจัดหนู (rodent control) แบ่งออกเปน 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. การลดจำนวนหนู (rodent reduction) ได้แก่ 1.1 การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เปนต้น 1.2 การปรับปรุงสภาพแวดล้อ...

  • การจัดการหนู(rodent management) เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยง หรือหลบหลีกวิธีการปฏิบัติ ของมนุษย์ที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนูได้ การป้องกันและกำจัดหนู...
Visitors: 434,414