หลักการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน และทางสาธารณสุข

หลักการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน และทางสาธารณสุข

แมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “pest” ซึ่งคนส่วนใหญ่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ศัตรูพืช” แต่ความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่า pest จะครอบคลุมถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งลดและ/หรือ ทำลายทั้งปริมาณ คุณภาพ และราคา (หรือคุณค่า) ของทรัพย์สมบัติและทรัพยากร ของมนุษย์ ซึ่งรวมทั้งพืชและสัตว์ที่มนุษย์ปลูกและเลี้ยงไว้เพื่อเป็นปัจจัยสี่หรือเพื่อความบันเทิงของมนุษย์ นอกจากนั้น ยังรวมถึงพวกที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์โดยตรง ดังนั้น ถ้าจะแปลคำว่า pest เป็น “ศัตรูมนุษย์” ก็น่าจะเหมาะสมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม แมลงและสัตว์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ อยู่ร่วมและสร้างปัญหาให้กับมนุษย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ และแม้ว่ามนุษย์จะพยายามหาทางกำจัดให้หมดไปจาก สภาพแวดล้อมแต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ที่จะจัดการ กับปัญหาเหล่านี้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มของสัตว์ที่สร้างปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขมีทั้งกลุ่มแมลง เช่น ปลวก มด แมลงสาบ ยุง แมลงวัน หมัด เหา เรือด กลุ่มแมง เช่น ไรฝุ่น เห็บ แมงมุม แมงป่อง และกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น นก หนู สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ สัตว์เหล่านี้ต้องการปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต 3 ประการ ได้แก่ อาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ดังนั้น หากมนุษย์สามารถควบคุมปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งให้ ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของพวกมันก็จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นลดลงได้

การจัดการ “ศัตรูมนุษย์” แบบผสมผสาน

การจัดการ (management) หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบ ซึ่งทำให้งานหรือกิจกรรมอย่างใด อย่างหนึ่งสำเร็จลุล่วงไปได้ โดยที่ผู้จัดการมีหน้าที่ในการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและประสานให้งานนั้น ดำเนินไปด้วยความราบรื่น แนวคิดในการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข แบบผสมผสานนั้นพัฒนามาจาก การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (integrated pest management; IPM) ในภาคการเกษตร ซึ่งหมายถึง การเลือก การรวม และการนำวิธีการควบคุมศัตรูพืชแบบต่าง ๆ ไปใช้ผสมผสานกัน โดยคำนึงถึงผลที่ตามมาในแง่ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การยอมรับของผู้บริโภคและสังคมโดยรวม และ อันตรายหรือปัญหาที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม สำหรับวิธีการควบคุมศัตรูพืชที่สามารถนำมาพิจารณาเลือกใช้ ได้แก่ การใช้วิธีทางเขตกรรม (cultural control) การใช้พันธุ์ต้านทานศัตรูพืช การใช้วิธีกลและ/หรือวิธี ทางกายภาพ การใช้วิธีการทางพันธุศาสตร์ วิธีทางกฎหมาย การใช้ชีววิธี และรวมถึงการใช้สารเคมี ทั้งนี้ หลักการของการจัดการศัตรูพืชโดยแบบผสมผสาน คือ

  • ศัตรูพืชไม่ได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไป แต่ยังคงมีอยู่ในระดับหนึ่งซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้
  • การจัดการศัตรูพืชต้องพิจารณาทั้งระบบนิเวศ
  • มีการใช้การควบคุมโดยธรรมชาติมากที่สุด
  • พึงตระหนักอยู่เสมอว่าวิธีการควบคุมศัตรูพืชวิธีใดก็ตามอาจก่อให้เกิดผลเสียได้เสมอ
  • การประสานความร่วมมือระหว่างสายงานต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็น

จากหลักการดังกล่าว เราสามารถนำมาพัฒนาใช้กับแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและ ทางสาธารณสุขได้ โดยผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาดังกล่าวจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ ใช้สารเคมีในการแก้ปัญหา ทั้งนี้จะต้องดำเนินการ ดังนี้

  1. ทำการวิเคราะห์ชนิดของศัตรูที่เป็นปัญหาหรืออาจเป็นปัญหา ต้องศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาและ นิเวศวิทยาโดยละเอียดเพื่อหาวิธีการหรือแนวทางป้องกันการเกิดปัญหา พร้อมทั้งหาระยะหรือ ช่วงเวลาที่เป็นจุดอ่อนเพื่อให้สามารถจัดการได้ง่ายและมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากที่สุด
  2. สำรวจ ตรวจสอบบ้านเรือนหรือพื้นที่เป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบแนวโน้มการเกิด ปัญหาและ/หรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องขอบเขตและความรุนแรงของปัญหาว่ามี มากน้อยเพียงใด มีความจำเป็นต้องดำเนินการหรือไม่ และต้องดำเนินการเมื่อใด
  3. ศึกษาทางเลือกต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม โดยอาจใช้หลาย ๆ วิธีผสมผสานกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ในขณะที่เป็น อันตรายต่อผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของมาตรการการแก้ปัญหาที่เลือกมาใช้

วิธีการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข

การจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขประกอบด้วยขั้นตอน พื้นฐาน ดังนี้

1. การสำรวจหรือตรวจสอบ (inspection)

การสำรวจหรือตรวจสอบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและ ภายหลังการปฏิบัติงาน การสำรวจทั้งสองขั้นตอนควรเป็นการสำรวจตามมาตรฐาน “การสำรวจอย่างละเอียด” หรือ “a thorough survey” โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพื่อความปลอดภัย เช่น หมวกกันกระแทก หน้ากาก รองเท้านิรภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมีอุปกรณ์การ สำรวจ เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่าง กระดานรองเขียน เป็นต้น

1.1 การสำรวจก่อนการปฏิบัติงาน

เป็นการสำรวจเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผนผังของสถานที่ภายในตัวอาคารรวมทั้งสภาพ แวดล้อม เพื่อหาการมีอยู่ของแมลงและสัตว์ ทั้งในด้านชนิด จำนวน และความเสียหายจากการทำลาย เพื่อ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหาร และอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้ามาระบาดของแมลง และสัตว์

1.2 การสำรวจภายหลังการปฏิบัติงาน

เป็นการตรวจติดตามและประเมินผลภายหลังการให้บริการ โดยมีวิธีการและจุดที่ควรสำรวจ หรือตรวจ ดังนี้
1.2.1 แหล่งที่แมลงชอบหลบซ่อนอาศัย (pest hot spot) เช่น ล็อกเกอร์พนักงาน ห้อง เก็บของแม่บ้าน ห้องซักรีด ห้องครัว ห้องเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ใต้ถุนอาคาร บริเวณที่ทิ้งขยะ ท่อชาฟท์ และท่อระบายน้ำ สำหรับบริเวณที่มีความอับชื้นจะต้องตรวจโดยละเอียดเป็นพิเศษ
1.2.2 สอบถาม หรือสัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (client interview) หรือผู้ที่อยู่อาศัย เป็นประจำ ผู้ที่พบปัญหา และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ
1.2.3 การสุ่มตรวจด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กล่องดัก กล่องหรือกระดาษกาวกับดัก หรือกรง กับดัก เป็นต้น

2. การจำแนกชนิดแมลงและสัตว์(identification)

การจำแนกชนิดของแมลงหรือสัตว์อย่างถูกต้องจะช่วยให้สามารถหาข้อมูลด้านชีววิทยาและ นิเวศวิทยาของแมลงและสัตว์ที่สำรวจพบได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการได้ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ พึงตระหนักว่าไม่จำเป็นที่แมลงหรือสัตว์ที่ตรวจพบทุกชนิดจะต้องเป็นตัวที่ก่อให้เกิด ปัญหาทั้งหมด

3. การสุขาภิบาล (sanitation)

เป็นการดูแลด้านสุขวิทยาและการสุขาภิบาล โดยปรับปรุง แก้ไขอาคารบ้านเรือนและสถานที่เพื่อ ทำการปิดกั้นหรือสกัดกั้นไม่ให้แมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาเข้ามาภายในได้ รวมทั้งการดูแลจัดการเรื่อง ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้มาจากผู้ให้บริการที่มาทำการสำรวจ สถานที่ก่อนการปฏิบัติงานและได้ทำรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้กับฝ่ายผู้รับบริการเพื่อพิจารณาดำเนินการ

การสร้างวัฒนธรรมภายในบ้านเรือนหรือองค์กร โดยการชี้แจงให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย หรือ รณรงค์ให้พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและมีส่วนร่วม อาจทำได้โดยการกำหนดระเบียบปฏิบัติตามหลัก 5ส. เพื่อช่วยให้การจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้ ดังนี้

สะสาง

แยกและกำจัดของที่ไม่จำเป็นทิ้ง ไม่ให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นแหล่งอาศัยและ เพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์

สะดวก

จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างที่เหมาะสมและควรจัดวางบนชั้นเพื่อให้ สามารถสำรวจตรวจสอบปญหาได้โดยง่าย ไม่ ั ควรตั้งวางสิ่งของติดผนังหรือวางบนพื้น โดยตรง ควรตั้งวางบนที่รองรับ

สะอาด

ทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์ จัดให้มีการล้าง ทำความสะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันหรือหมักหมมของเศษขยะ และอาหาร การจัดให้มีการระบายและถ่ายเทอากาศได้ดีจะช่วยลดปัญหาแมลงและ สัตว์อื่นบางชนิดที่ชอบสภาพอับชื้น

สุขลักษณะ

จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ให้สะอาดและถูกหลัก สุขอนามัย เน้นการดูแลจุดที่สำคัญ โดยการอุด ปิดกั้น สกัดกั้น ปิดทางเข้า-ออก ซ่อมแซมรอยแตก รอยร้าว หรือรอยทรุดตัวของอาคารไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อน อาศัยของแมลงและสัตว์ จัดที่ทิ้งขยะให้มีฝาปดมิด ิ ชิดและนำมาทิ้งในเวลาอันเหมาะสม ขยะเปียกและขยะประเภทเศษอาหารควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นแมลงและ สัตว์ไม่ให้เข้ามาอาศัยและเป็นแหล่งในการแพร่ระบาดต่อไปได้

สร้างนิสัย

ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหน่วยงานให้เป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง พร้อมทั้งช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงและสัตว์ในพื้นที่ รับผิดชอบของตนเอง

4. การจัดการ “ศัตรูมนุษย์” (integrated pest management)

หลังจากดำเนินการป้องกัน การปดกั้น และการส ิ ุขาภิบาลแล้ว จึงมาถึงขั้นตอนการควบคุมแมลง และสัตว์ที่เป็นปัญหาเหล่านี้ซึ่งวิธีการที่สามารถใช้ได้อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

4.1 การจัดการโดยไม่ใช้สารเคมี วิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทาง สาธารณสุข ได้แก่

4.1.1 การควบคุมโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้กาวดัก กล่องหรือกรงดัก และเครื่องดักจับแมลงแบบต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เครื่องดูดฝุ่นในการทำความสะอาดเป็นประจำ
4.1.2 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (physical control) เช่น การสำรวจตรวจสอบวัสดุ สิ่งของ สินค้า และวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาจากภายนอกว่ามีแมลงสาบหรือไข่ของแมลงติดเข้ามาด้วยหรือไม่ โดยการใช้ เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลง การใช้ไม้ตีหรือช็อต และการใช้สวิงตัก เป็นต้น
4.1.3 การควบคุมโดยชีววิธี (biological control) คือ การใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูทาง ธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasites) และจุลินทรีย์ (microorganisms) ต่าง ๆ
4.1.4 การควบคุมโดยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้สารไล่ (repellents) การใช้สารดึงดูดทางเพศล่อ (sex pheromones) การใช้อาหารล่อ (food attractants) และการใช้สารกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโต ของแมลง (insect growth regulators; IGRs) เป็นต้น

4.2 การจัดการโดยใช้สารเคมี(chemical control)

หมายถึง การใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหา โดย ปกติแล้วการใช้สารเคมีเหล่านี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้วิธีการอื่น ๆ ไม่ประสบผลสำเร็จแล้ว เท่านั้น และควรเลือกใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำถึงปานกลาง ใช้สารเคมีที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา และนำมาใช้เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับสถานที่ที่รับบริการเท่านั้น ทั้งนี้ ประสิทธิผลของการจัดการโดยใช้สารเคมีจะขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ให้บริการ การใช้อุปกรณ์และวิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งการเลือกใช้สารเคมีที่มีคุณภาพและอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสม

ตัวอย่างกิจกรรมการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข ที่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การป้องกันโดยซ่อมแซมรอยรั่ว รอยแตกร้าว ช่องทางเข้าของระบบไฟฟ้า ประปา ใช้ตาข่ายปิดช่องระบายต่าง ๆ เพื่อปองกันแมลงและสัตว์อื่นเข้าสู่ภ ้ ายในอาคารบ้านเรือน ปดประตูทางเข้า-ออก ให้สนิทและรวดเร็วเพื่อป้องกันแมลงบิน ออกแบบและจัดการแสงไฟ ไม่ติดโคมไฟเหนือบริเวณทางเข้า-ออก ไฟสนามให้ใช้หลอดไฟสีเหลืองจะดึงดูดแมลงน้อยกว่าสีขาวปกติ หลีกเลี่ยงการเปิดไฟบริเวณระเบียงทิ้งไว้ ตลอดเวลา เก็บขยะในถังปิดฝามิดชิด ทำความสะอาดถังเป็นประจำ กำจัดขยะในครัวทุกวัน ไม่สะสมผ้า เศษไม้ กระดาษ และหนังสือพิมพ์ในโรงรถและห้องเก็บของ

การกำจัดสามารถทำได้โดย การใช้กาวดัก แผ่นจับแมลงวัน ใช้กับดักแสงไฟ (แต่จะไม่ได้ผล หากใช้ภายนอกอาคาร) แช่เมล็ดธัญพืชในช่องแช่แข็งเพื่อกำจัดแมลง หรือการใช้สารฆ่าแมลงในกรณีจำเป็น

5. การติดตามประเมินผล (evaluation)

เป็นการติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานเพื่อประเมินระดับการระบาดของแมลงและสัตว์อื่นว่า ลดลงหรือไม่เพียงใด โดยการสำรวจด้วยตนเองหรือสอบถามจากเจ้าของสถานที่ พร้อมจัดทำบันทึกรายงาน การติดตามผล (follow–up inspection report) นำเสนอให้ผู้รับบริการ หรือเพื่อเก็บไว้อ้างอิงตรวจสอบ รวมทั้งใช้ในการวางแผนปรับปรุงการให้บริการครั้งถัดไปให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทั้งนี้ อาจทำการประเมินผล ทุกครั้งที่เข้าดำเนินการหรือเป็นช่วงระยะเวลา ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือเงื่อนไขข้อตกลง

จะเห็นว่าการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขให้ได้ผลและ ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น จะต้องดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด เพราะนอกจากจะช่วยลดปญหั า ผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยทำให้เกิดความประหยัด ปลอดภัย และยังช่วยป้องกัน ปัญหาแมลงต้านทานต่อสารเคมีได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข

ความสำเร็จในการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ เช่น

  1. วัตถุดิบหรือบรรจุภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากภายนอกอาคารอาจมีแมลงและสัตว์อื่นติดเข้ามาได้
  2. กลิ่นอาหาร เศษอาหาร และขยะจากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และสถานประกอบการอาจมีส่วน สำคัญในการดึงดูดแมลงและสัตว์อื่นเข้ามายังสถานที่ดังกล่าว
  3. แสงไฟส่องสว่างโดยรอบอาคารบ้านเรือน ทำให้แมลงกลางคืนบินเข้าหาอาคารและอาจเล็ดรอด เข้าสู่ภายในอาคารบ้านเรือนได้
  4. อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่มีอุณหภูมิอบอุ่นและ/หรือความชื้นเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของแมลง และสัตว์ต่าง ๆ
  5. เครื่องจักรกล ฝาประกบ ช่องว่าง ซอก และรอยแตกของโครงสร้างอาคารบ้านเรือนเป็นแหล่ง หลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์อื่นได้เป็นอย่างดี
  6. สภาพอาคารสถานที่บางแห่งเก่าแก่ อุปกรณ์หมดอายุการใช้งาน ทำให้ยากแก่การบำรุงรักษาและ ทำความสะอาด
  7. สถานประกอบการบางแห่งมีการผลิตหรือปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การดำเนินการจัดการ แมลงและสัตว์อื่นเป็นไปได้ยาก
  8. ฝุ่น คราบไขมัน อุณหภูมิ และความชื้นที่สูงเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง อาจมีผลทำให้ ประสิทธิภาพของสารเคมีลดลง
  9. มาตรการในการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและสถานที่ ทำให้เกิดการชะล้างหรือทำลายฤทธิ์ ตกค้างของสารเคมี
  10. การทำความสะอาดพื้นที่ และรถฟอร์คลิฟท์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายให้กับ อุปกรณ์ดักจับแมลงและหนูได้มาก ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดการปัญหา
  11. ข้อกำหนดในการไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีภายในสถานประกอบการบางประเภท เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือกฎระเบียบของหน่วยราชการที่กำกับดูแล ทำให้ไม่สามารถใช้สารเคมีในการ กำจัดได้
  12. เจ้าของบ้านหรือผู้บริหารของสถานที่ลังเลใจที่จะลงทุนหรือเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการแมลงและ สัตว์อื่นที่เป็นปัญหา

ดังนั้น การดำเนินการเพื่อขจัดหรือลดอุปสรรคเหล่านี้ย่อมมีผลให้โอกาสที่การจัดการแมลงและสัตว์อื่น ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขจะประสบความสำเร็จมีมากยิ่งขึ้น

 

Visitors: 433,521