อาการเกิดพิษของวัตถุอันตรายแต่ละกลุ่ม

อาการเกิดพิษ

โดยปกติวัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกัน กำจัดแมลงและสัตว์อื่น จะสามารถทำให้เกิด อันตราย หรือเกิดพิษจากการได้รับสัมผัสวัตถุอันตรายทางภายนอก ได้แก่ ผิวหนัง ตา หรือระบบทางเดิน หายใจ หรือการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดความเป็นพิษต่อระบบภายในร่างกาย หรืออาจก่อให้เกิด การแพ้ได้ด้วย ความอันตรายหรือความเป็นพิษจะขึ้นกับปริมาณที่ได้รับสัมผัสสารเคมีและความเป็นพิษ ของสารนั้น ๆ

ผลจากการรับสัมผัสทางภายนอก

อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการระคายเคืองทางผิวหนังหรือผิวหนังอักเสบ โดยอาจมีอาการคัน แดง มีผื่น เกิดตุ่มบวม หรือผิวหนังไหม้ และยังอาจทำให้ผิวหนังสีจางลงหรือด่าง

สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำอันตรายต่อตาซึ่ง ในบางครั้งก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตาอย่างถาวร มักพบอาการบวม แสบคัน หรือปวดแสบปวดร้อนที่ตา จมูก ปาก หรือในคอ

ผลต่อระบบภายในร่างกาย

ผลต่อระบบภายในร่างกายมนุษย์มักเกิดขึ้นเมื่อได้รับสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น ซึ่ง ออกฤทธิ์ต่อระบบใดระบบหนึ่งของแมลงหรือสัตว์เป้าหมาย โดยระบบนั้น ๆ มีความคล้ายคลึงกับระบบใน ร่างกายของมนุษย์ เช่น ระบบประสาทของแมลงจะมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบประสาทของมนุษย์ ดังนั้น สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลงจึงมีผลก่อให้เกิดอันตราย ต่อระบบประสาทของมนุษย์ได้เช่นกันหากได้รับในขนาดที่เป็นพิษ หรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบเลือดของหนู ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบเลือดของมนุษย์ ก็จะมีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์เช่นเดียวกัน

อาการที่เกิดต่อระบบของร่างกายอาจมี ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้อง • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย สับสน
  • เหงื่อออกมาก น้ำตาไหล หนาวสั่น กระหายน้ำ
  • ปวดแน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • ปวดเมื่อยร่างกาย และกล้ามเนื้อเกร็งเป็นตะคริว

ผลในเรื่องการก่อให้เกิดการแพ้

การเกิดการแพ้สารเคมี เป็นผลที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการจากปฏิกิริยาในร่างกายต่อสาร ซึ่ง ปกติจะไม่เกิดในคนทั่วไป การแพ้สารเคมีอาจก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ ผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มที่ผิวหนัง หรือเกิดลมพิษ และในบางครั้งอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเกิดหอบหืด หรือเกิดอาการช็อค เป็น อันตรายถึงตายได้ การแพ้ต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นก็คล้ายคลึงกับการแพ้สารเคมีทั่วไป รวมถึงอาการแสบหรือคันตา ทั้งนี้ เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าบุคคลใดอาจจะเกิดการแพ้ต่อสารใด


  • ออร์กาโนคลอรีน.png
    เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคลอรีน ไฮโดรเจน คาร์บอน บางชนิดอาจมีออกซิเจนรวม อยู่ด้วยเรียกว่า คลอริเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) เป็นสารกำจัดแมลงที่ ออกฤทธิ์ตกค้า...

  • เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญ ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลาย อินทรีย์ ออกฤทธิ์ทำให้แมลงตายโดยการสัมผัสและดูดซึมเข้าสู่ตัวแมลง มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารกลุ่ม ไพรี...

  • เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีพิษคล้าย สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือ ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสสารดังกล่าวต้องตรวจร่า...

  • เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารไพรีทรินส์ที่สกัดมาจากดอกเบญจมาศ ตระกูล Chrysanthemum สารไพรีทรินส์เป็นสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยในการใช้ มีพิษต่อสัตว์เ...

  • เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายนิโคตินแต่มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่า เป็นสารกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กำจัดแมลงได้ทั้งการ...

  • เป็นสารกำจัดแมลงที่ใช้สำหรับกำจัดแมลงที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์โดยการสัมผัส และ การกิน...

  • กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เช่น 1. ไดคลอร์วอส หรือดีดีวีพี (dichlorvos or DDVP) 2. มาลาไทออน (malathion) 3. เทเมฟอส (temephos) 4. คลอร์ไพริฟอส (chlorpyriphos) 5. ไดอะซินอน (diazinon) อากา...

  • สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (hormone mimics) เช่น เฮ็กซาฟลูมูรอน (hexaflumuron) เป็นสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารในกล...

  • สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ได้แก่ วอร์ฟาริน (warfarin) คูมาเตตระลิล (coumatetralyl) โบรดิฟาคูม (brodifacoum) โบรมาไดโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดเฟไทอะโลน (dif...

  • หลักการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน และทางสาธารณสุข แมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “pest” ซึ่งคนส่วนใหญ่...
Visitors: 433,220