รู้จักสารเคมีกำจัดแมลง (Chemical knowledge)

วัตถุอันตรายที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข

แมลงและสัตว์ฟันแทะหลายชนิดเป็นต้นเหตุนำโรค นำความรำคาญ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมาสู่มนุษย์ ในอดีตมนุษย์พยายามหาวิธีควบคุม ป้องกัน และกำจัดมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 ได้มีการนำสารดีดีที (dichlorodiphenyl trichloroethane; DDT) มาใช้กำจัดแมลงเป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการใช้สารอินทรีย์สังเคราะห์อื่น ๆ ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในปัจจุบันหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ห้ามการใช้สารดีดีทีแล้วเนื่องจากมีข้อมูลความเป็นพิษต่อมนุษย์และการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม นอกจากการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืชทางเกษตรแล้ว ยังมีการนำสารเคมีเหล่านี้มาใช้กำจัดแมลงที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขด้วย วัตถุอันตรายที่นำมาใช้เพื่อกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข
เช่น ยุง แมลงวัน ปลวก มด แมลงสาบ ไรฝุ่น และหนู เป็นต้น มีหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซ ชนิดฉีดพ่นธรรมดา ชนิดขด ชนิดแผ่นใช้ไฟฟ้า ชนิดผง หรือชนิดเหยื่อ เป็นต้น

วัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สารประกอบอนินทรีย์ เป็นสารประกอบของแร่ธาตุที่พบตามธรรมชาติ ไม่มีธาตุคาร์บอนในโมเลกุล มีความเสถียรมากไม่ระเหย ละลายน้ำได้ดี บางชนิดคงอยู่ได้นาน มีพิษสะสมต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สารประกอบของ สารหนู ไซยาไนด์ ปรอท และแทลเลียม เป็นต้น ปัจจุบันแทบไม่มีการนำมาใช้แล้ว

2. สารสกัดจากธรรมชาติ(botanical insecticides)  ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้มากยิ่งขึ้น ได้แก่ สารสกัดจากต้นตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus(L) Rendli) สารสกัดจากต้นหนอนตายหยาก (Stemona spp.) สารสกัดจากต้นโล่ติ๊น (Derris elliptica)เป็นต้น

ชนิดของสูตรตำรับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย มีดังนี้

1. ชนิดของสูตรผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่เข้มข้นต้องผสมน้ำก่อนนำไปใช้

1.1 EC (emulsifiable concentrates) 

ลักษณะเปนของเหลวที่ผสมเป ็ นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้  ต้องเจือจางด้วยน้ำ จะได้สารอิมัลชั่นมีลักษณะขุ่นขาว

1.2 SC (suspension concentrates) 

ลักษณะเป็นสารผสมแขวนลอยของสารออกฤทธิ์ในของเหลว ไม่ตกตะกอน ก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำ

1.3 SL (soluble concentrates) 

ลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำ

1.4 SP (soluble powders) 

ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องนำไปละลายน้ำ

1.5 WP (wettable powders) 

ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำจะได้สารละลายในรูปของสารแขวนลอย สูตรนี้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการอัดวัตถุอันตรายลงดิน หรือฉีดพ่นบนพื้นดินบริเวณรอบ ๆอาคารบ้านเรือน การพิจารณาเลือกใช้สูตรตำรับใด จึงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้หรือราคาของวัตถุอันตรายนั้น ๆ

2. ชนิดของสูตรผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่เข้มข้นต้องผสมตัวทำละลายอินทรีย์ก่อนนำไปใช้ เช่น 

OL (oil miscible liquids) ลักษณะเป็นของเหลวผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องเจือจาง ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ สูตรนี้เหมาะที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดเข็มหรือหลอดฉีดยา เพื่ออัดหรือฉีดพ่น วัตถุอันตรายเข้าไปในโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายในแต่ละจุดเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยในการแทรกซึมของวัตถุอันตรายเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ และยังใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉีดพ่นหมอกควัน(fogging) ด้วย

3. ชนิดของสูตรผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่นำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเจือจางก่อน เช่น 

DP (dustable powders) ลักษณะเป็นผงละเอียด เหมาะจะนำไปใช้ในการฉีดพ่นโดยใช้กับลูกยางบีบพ่น วัตถุอันตรายจะเข้าไปในเส้นทางเดินของแมลงหรือในโครงสร้างส่วนที่ถูกทำลายโดยไม่มีการเลอะเปรอะเปื้อน ต่างจากการใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ต้องผสมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำ หรือสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารหรือวัสดุสิ่งของนั้น ๆ

4. ชนิดของสูตรผสมวัตถุอันตรายรูปแบบอื่น ๆ

4.1 AE (aerosols) 

บรรจุในภาชนะปิดมิดชิด ภายในมีแรงดันสูง เมื่อกดที่ฉีดสารละลายจะถูกปล่อยออกมาเป็นละอองฝอย

4.2 BA (bait ready for use) 

เป็นเหยื่อล่อหรือดึงดูดแมลงหรือสัตว์ฟันแทะให้เข้ามากัดกินได้เลยโดยไม่ต้องนำไปผสมอีก

4.3 UL (ultra low volume liquids) 

เป็นสารผสมเนื้อเดียวกันใช้ได้ทันที โดยใช้กับเครื่องพ่นยูแอลวี (ULV)

4.4 Foams 

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการอัดฉีดวัตถุอันตรายลงใต้พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำพาวัตถุอันตรายให้แทรกซึม กระจายได้เร็วและทั่วถึง รวมทั้งสามารถแทรกซึมไปตามช่องว่างต่าง ๆ ภายใต้พื้นคอนกรีตได้


  • ออร์กาโนคลอรีน.png
    เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคลอรีน ไฮโดรเจน คาร์บอน บางชนิดอาจมีออกซิเจนรวม อยู่ด้วยเรียกว่า คลอริเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) เป็นสารกำจัดแมลงที่ ออกฤทธิ์ตกค้า...

  • เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญ ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลาย อินทรีย์ ออกฤทธิ์ทำให้แมลงตายโดยการสัมผัสและดูดซึมเข้าสู่ตัวแมลง มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารกลุ่ม ไพรี...

  • เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีพิษคล้าย สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือ ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสสารดังกล่าวต้องตรวจร่า...

  • เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารไพรีทรินส์ที่สกัดมาจากดอกเบญจมาศ ตระกูล Chrysanthemum สารไพรีทรินส์เป็นสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยในการใช้ มีพิษต่อสัตว์เ...

  • เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายนิโคตินแต่มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่า เป็นสารกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กำจัดแมลงได้ทั้งการ...

  • เป็นสารกำจัดแมลงที่ใช้สำหรับกำจัดแมลงที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์โดยการสัมผัส และ การกิน...

  • กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เช่น 1. ไดคลอร์วอส หรือดีดีวีพี (dichlorvos or DDVP) 2. มาลาไทออน (malathion) 3. เทเมฟอส (temephos) 4. คลอร์ไพริฟอส (chlorpyriphos) 5. ไดอะซินอน (diazinon) อากา...

  • สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (hormone mimics) เช่น เฮ็กซาฟลูมูรอน (hexaflumuron) เป็นสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารในกล...

  • สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ได้แก่ วอร์ฟาริน (warfarin) คูมาเตตระลิล (coumatetralyl) โบรดิฟาคูม (brodifacoum) โบรมาไดโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดเฟไทอะโลน (dif...

  • อาการเกิดพิษ โดยปกติวัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกัน กำจัดแมลงและสัตว์อื่น จะสามารถทำให้เกิด อันตราย หรือเกิดพิษจากการได้รับสัมผัสวัตถุอันตรายทางภายนอก ได้แก่ ผิวหนัง ตา หรือร...

  • หลักการจัดการแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน และทางสาธารณสุข แมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “pest” ซึ่งคนส่วนใหญ่...
Visitors: 432,889