ปลวก TERMITE

ปลวกได้รับการพิจารณาว่าเป็นสัตว์รบกวนประเภทแมลงที่เป็นจอมทำลายที่สุดในโลก
ในแต่ละปีอาคารและสิ่งก่อสร้างมากมายได้รับความเสียหายโดยสัตว์รบกวนเหล่านี้ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางการเงินอย่างมหาศาล

โดยนางพญาปลวก  สามารถขยายพันธุ์ได้มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากพยาธิตัวตืด นางพญาปลวกสามารถวางไข่ประมาณ 30,000 ตัว/วัน เพื่อฝักเป็นปลวกอ่อนต่อไปในอนาคต

ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศน์ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสซึ่งเปน็ส่วนประกอบที่สำคัญในไม้และเส้นใยต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก ในการดำรงชีวิต ดังนั้น เราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายใน อาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มี เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าสองร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความ เสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ก่อให้เกิด ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้น จากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อม ระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น เสา คานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของ ปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกจะช่วยให้สามารถวางแผนแนวทางในการ ป้องกันกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายใต้อาคาร เป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษทำให้ ปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลาย ๆ ขั้นตอนในการป้องกัน กำจัดปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อช่วยลดความเสียหาย และช่วยยืดอายุการ ใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น 

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวก

ชีวิตความเป็นอยู่ของปลวก
ลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัย ไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืด และอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะ ต่าง ๆ รวม 3 วรรณะ คือ

1. วรรณะสืบพันธุ์ หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีก มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ โดยจะบิน ออกจากรังเมื่อมีสภาพอากาศเหมาะสม จับคู่กันแล้วสลัดปีก ผสมพันธุ์ จากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อ วางไข่

2. วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กที่พบเห็นกันมาก โดยทั่วไปมีสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็น อวัยวะรับความรู้สึก คลำทาง ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและ ทหาร ซึ่งจะไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อรา และซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย

3. วรรณะทหาร
เป็นปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนของหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง ที่สามารถผลิต สารที่มีลักษณะเหนียวข้นสำหรับพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก
การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวกเริ่มต้นขึ้นเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงต้น ฤดูฝนภายหลังฝนตกซึ่งจะมีปริมาณความชื้นในอากาศสูง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจะบินออกจากรังใน ช่วงเวลาพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจะสลัดปีกทิ้งไปแล้วลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มี แหล่งอาหารและความชื้นเหมาะสม หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้วประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่ เป็นฟองเดี่ยว ๆ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และ เป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่า ฟีโรโมน หรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกินจะเป็น ตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่าง ๆ เช่น ปลวกงาน (worker) ปลวกทหาร (soldier) โดย บางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์ (nymph) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็น แมลงเม่าซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตไปเป็นปลวก วรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary reproductive) ซึ่งจะทำหน้าที่ผสมพันธุ์ และออกไข่เพิ่มจำนวน ประชากรแทนราชาหรือราชินี ในกรณีที่ราชา (king) หรือราชินี (queen) ของรังถูกทำลายไป

แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. ไม้ (wood)
  2. ดิน และฮิวมัส (soil and humus)
  3. ใบไม้ และเศษซากพืชที่ทับถมกันอยู่บนพื้นดิน (leaves and litter)
  4. ไลเคน และมอส (lichen and moss)

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีเซลลูโลสเป็น องค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียว คือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือ จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราในปลวกชั้นสูง ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ช่วยในการย่อยอาหารประเภท เซลลูโลส หรือสารประกอบอื่น ๆ ให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก

บทบาทของปลวกในระบบนิเวศน์

ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ

  1. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ ของพืช ที่หักร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนให้กลายสภาพเป็นฮิวมัสในดิน เป็นต้นกำเนิดของขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับ ในป่าธรรมชาติเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี
  2. มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ นอกเหนือจากช่วยให้พรรณพืชในป่าเจริญ เติบโตดี ตัวปลวกเองยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคก และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอด ๆ
  3. เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ ปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็น อาหารที่มีรสชาติอร่อยและมีราคาแพง สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายใน รังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต
  4. จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวกสามารถผลิตเอนไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม หรือใช้ในการแก้ไขและควบคุม มลภาวะสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์ตกค้างนาน การกำจัดน้ำเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรม หรือการย่อยสลายขยะ เป็นต้น

โทษที่เกิดจากปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความเสียหายที่เกิดจากปลวกส่วนใหญ่เกิดจาก การเข้าทำลายพืชเกษตร ไม้ และผลผลิตจากไม้ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น

  • กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า
  • ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
  • ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
  • วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และพืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรม และเสื้อผ้า เป็นต้น
Visitors: 434,261